รูปแบบการสอน | ขั้นที่ 1 | ขั้นที่ 2 | ขั้นที่ 3 |
Constructionism | 1. Explore การสำรวจตรวจค้น คือขั้นตอนนี้บุคคลจะเริ่มสำรวจตรวจค้นหรือพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ (assimilation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้พบหรือ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่ไม่มีอยู่ในสมองของตน ก็จะพยายามรับหรือดูดซึมเก็บเข้าไปเป็นความรู้ใหม่ | 2. Experiment การทดลอง คือขั้นตอนนี้จะเป็นการทดลองทำภายหลังจากที่มีการสำรวจไปแล้วเป็นการปรับความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมจนเกิดความเข้าใจว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใหม่นี้ต่อไป | 3. Learning by doing การเรียนรู้จากการกระทำ คือการลงมือปฏิบัติแล้วสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นองค์ความรู้ของตนเอง ขั้นตอนนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างการรับหรือดูดซึม และการปรับความแตกต่าง |
Biggs 3P Model | 1. ครูนำ เสนอบทเรียนในขั้นนำ เสนอ(P1 = Presentation)โดยนำ เสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร (Whole Language) ไม่แยกสอนเป็นคำ ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น | 2. ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2=Practice) อย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ก่อน ฝึกกลุ่มโดยใช้การฝึกลูกโซ่ ฝึกคู่เปลี่ยนกันถามตอบ และก็ฝึกเดี่ยวโดยพูดกับครูทีละคน | 3. กิจกรรมขั้นนำ เสนอผลงานP3 (Production) เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลงหรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1 และ 2 อาจให้ทำ งานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงาน |
Su learning Model | 1. ผู้เรียนกำหนดกรอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง ด้วยการระบุ ความรู้และการปฏิบัติโดยระบุความรู้ ในรูปของสารสนเทศหรือdeclarative knowledge และระบุทักษะ การปฏิบัติ(โครงงาน งานภาระงาน) กลยุทธ์ ทักษะ หรือกระบวนการ หรือprocedural knowledge และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ | 2. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ และระบุเกณฑ์คุณภาพวัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out-comes:SOLO Taxonomy) | กรณีที่วัตถุประสงค์เป็นความรู้ความเข้าใจ จะระบุเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน(collaborative learning)หรือการเรียนรู้แบบนำตนเอง(self-directed learning)โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนต้องการการเรียนรู้แบบการมีความคิดวิจารณญาณ จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative learning) มีการอภิปรายเรื่องราวที่เรียนรู้ กลยุทธการเรียนรู้แบบท างานเป็นทีม หรือกลยุทธการเรียนรู้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ |
DRU Model | 1. P= Planning การวางแผน
| 2. C= Cognitive network ความรู้ความกระจ่างชัด
| 3. A = Assessment การประเมินค่า
|
วิธีรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
NKK Model (DRU)
บทบาทครู
1.วางแผน / N = Need for Learning
2.จัดการชั้นเรียน / K = Knowledge by Network
3.ประเมินผล / K = Knowledge and Do Audit
บทบาทนักเรียน
1.N = Need for Learning
- ความต้องการของนักเรียนด้านพุทธพิสัย หรือ ความรู้ (K)
- ความต้องการของนักเรียนด้านทักษะพิสัย หรือ ทักษะ (P)
- ความต้องการของนักเรียนด้านเจตพิสัย หรือ เจตคติ (A)
2.K = Knowledge by Network
- ความรู้ผ่านเครือข่าย CN ,SN,AN
3.K = Knowledge and Do Audit
- ประเมินตรวจสอบความรู้ตนเอง เพื่อตรวจสอบ K,P,A
การจัดการเรียนการสอน
1.ขั้นนำ
1.1 Design (ออกแบบการจัดการเรียนรู้)
1.2 CN (เรียนรู้ผ่าน PPT,E-Book,ใบความรู้)
1.3 AN (คุยกับเพื่อน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ)
2.ขั้นสอน
2.1 CN (เรียนรู้ผ่าน PPT,E-Book,ใบความรู้)
2.2 L = DRU (เรียนรู้อย่างมีความสุข)
2.3 SN (กลวิธีในการเรียนรู้)
- ระดมสมองแบ่งงานตามความสามารถ
- ทำงานตามความสามารถ
3.ขั้นสรุป
3.1 SN (กลวิธีในการเรียนรู้)
- ระดมสมองแบ่งงานตามความสามารถ
- ทำงานตามความสามารถ
3.2 ASS (ประเมินตรวจสอบทบทวนตัวเอง)
3.3 AN (คุยกับเพื่อน ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ)
|
การเปรียบเทียบการสอนรูปแบบเก่ากับรูปแบบใหม่
การสอนรูปแบบเก่า | การสอนรูปแบบใหม่ (DRU) |
ขั้นนำ
| Planning การวางแผน
|
ขั้นสอน
| Cognitive network ความรู้ความกระจ่างชัด
|
ขั้นสรุป
| Assessment การประเมินค่า
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น