วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

รูปแบบการสอนแบบต่างๆ

  วิธีการสอนแบบต่างๆ
1วิธีการสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)

รูปภาพที่ 1  การสอนแบบบรรยาย
ความหมายการสอนแบบบรรยาย
การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระแล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน การบรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้ เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้
            วัตถุประสงค์
                        1. เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด
                        2. เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
                        3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง
                        4. เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ
            องค์ประกอบของการสอน
                        1.  มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
                        2.  มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย)
                        3.  มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย
            ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
                        1เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
                        2เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
            ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียมการสอน ประกอบด้วย
                        1.วินิจฉัยผู้เรียน โดยพิจารณาถึงพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุย ซักถาม หรือแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอน
                        1.เตรียมเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความละเอียด ลึกซึ้ง มากน้อย และตามลำดับของเนื้อหา ให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
                        1.เตรียมคำถาม เพื่อใช้ถามผู้เรียนระหว่างการบรรยาย จะช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจได้ดีขึ้น
                        1.เตรียมสื่อการเรียนการสอน โดยเตรียมสื่อให้พร้อมอยู่ในสภาพใช้การได้ดี อาจเป็น สไลด์ แผ่นใส ภาพ ฯลฯ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
                        1.ขั้นเตรียมการวัดและประเมินผล อาจจัดทำเป็นการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดดูว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงไร
                        2.  ขั้นสอน ประกอบด้วย
                                    2.ขั้นนำ อาจใช้วิธี
                        - ซักถามพูดคุยกับผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
                        ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่
            2.ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ผู้สอนควรได้ดำเนินการ ดังนี้
                        1)  บอกโครงเรื่อง เครือข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
                        2)  อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
                        3)  สังเกตปฏิกิริยาตลอดเวลาเพื่อการย้ำหรือหยุดทบทวนใหม่
                        4)  ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
                        5)  ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งชัดเจนในบทเรียน
                                    6)  ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา อารมณ์ขันที่เหมาะสม

2.ขั้นสรุป เป็นการปิดท้ายชั่วโมงการบรรยาย อาจใช้วิธี
                        สรุปโยงเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
                        ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
                        ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปคิดต่อ
                        เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามปัญหา
                        มอบหมายงานให้ผู้เรียนไปค้นคว้าต่อเพิ่มเติม
                        บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป
                        3ขั้นติดตามผล ประกอบด้วย
3.1 วัดและประเมินผลผู้เรียน โดยอาจใช้วิธี
                        1ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดบรรยาย
                        2ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
                        3ให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
3.2 วัดผลและประเมินผลผู้สอน โดยอาจใช้วิธี
                        1จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้ทราบความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง
                        2ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการณ์สอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสอน
                        3บันทึกการบรรยายของตนแล้วนำไปพิจารณาประเมินผล
ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
                        1ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก
                        2ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย
                        3สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ
                        4ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น
                        5ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
                        6ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง
                        7เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
                        8ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง


ข้อเสียของการสอนแบบบรรยาย
                         1ถ้าใช้บ่อยๆโดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
                        2ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง
                        3ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย
                        4เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
                        5ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร
                        6ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
                        7ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป
                        8ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก
                        9ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยาย เช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
                        10เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ
                        11ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ
                        12ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย
                        13เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
                        14เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
2วิธีการสอบแบบสาธิต (Demonstration Method)      



รูปภาพที่  2  การสอบแบบสาธิต (Demonstration Method)

ความหมายการสอนแบบสาธิต
            การสอนแบบสาธิต หมายถึง การที่ครูหรือนักเรียนคนใดคนหนึ่งแสดงบางสิ่งบางอย่างให้นักเรียนดู  หรือให้เพื่อนๆดู อาจเป็นการแสดงการใช้เครื่องมือ แสดงให้เห็นกระบวนการวิธีการ กลวิธีหรือการทดลองที่มีอันตราย ซึ่งไม่เหมาะที่จะให้นักเรียนทำการทดลอง การสอนวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถทำในสิ่งนั้นได้ถูกต้อง ยังเป็นการสอนให้นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกต เป็นการสอนที่ได้ประสบการณ์ตรงวิธีหนึ่ง วิธีสอนแบบสาธิต จึงเป็นการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะผู้สอนเป็นผู้วางแผน ดำเนินการ และลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย วิธีสอนแบบนี้จึงเหมาะสำหรับ จุดประสงค์การสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ วิชาในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ เป็นต้น
            วัตถุประสงค์
                        1.ให้ผู้เรียนได้เกิดการรับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่นการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส เพื่อพัฒนาการฟัง การสังเกตและเพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
                        2มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
                        3ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
                        4เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้
จำนวนผู้เรียน
การสาธิตเป็นการแสดงให้ดู การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต
ระยะเวลา
            ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที
ลักษณะห้องเรียน
การสอนแบบสาธิต อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ รูปแบบ คือ
                        1
.การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้
                        2.การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น
                        3.การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน
ลักษณะเนื้อหา
            รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้วว่าการใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิต คือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้
            บทบาทผู้สอน
            วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
            บทบาทผู้เรียน
            วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วย คือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
            แนวทางในการสาธิต
                        1.การสาธิตแบบบอกความรู้ เป็นการสาธิตที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนการสาธิตว่าจะทำอะไร อย่างไร และจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วให้ผู้เรียนสังเกตการณ์สาธิต พร้อมอธิบายตามไปด้วย
                        2.การสาธิตแบบค้นพบความรู้ เป็นการสาธิตที่ผู้สาธิตหรือครูตั้งคำถามให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจแล้วจึงให้ผู้เรียนคอยสังเกตจาการสาธิตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่างไร
            ประเภทของการสาธิต
การสาธิตแบ่งออกเป็น  6 ประเภทดังนี้
                        1.ครูแสดงการสาธิตคนเดียว
                        2.ครูและนักเรียนร่วมกันสาธิต
                        3.กลุ่มนักเรียนเป็นผู้สาธิต
                        4.นักเรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
                        5.วิทยากรเป็นผู้สาธิต
                        6.การสาธิตเงียบ
เทคนิคการสาธิต
            การสาธิตในเรื่องที่แปลกใหม่ น่าสนใจ จะเน้นให้นักเรียนเห็นกระบวนการอย่างชัดเจน โดยมีส่วนร่วมในการสาธิต ตั้งคำถาม ซึ่งช่วยในการสอนแบบสาธิตได้ผลดียิ่งขึ้นเทคนิคการสาธิตมีดังนี้
                        1เลือกสาธิตเรื่องที่สนใจและเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับนักเรียน
                        2ไม่ควรบอกผลการสาธิตให้นักเรียนทราบล่วงหน้า
                        3พยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสังเกตซักถามและตอบคำถาม
                        4. ในระหว่างสาธิต ไม่ควรบรรยายมากเกินไป
                        5. ไม่ควรเร่งการสาธิต อาจทำให้นักเรียนตามไม่ทัน และไม่เข้าใจ
                        6. ควรให้เด็กทุกคนมองเห็นได้ทั่วถึง และครูควรเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคน
                        7การสรุปผล ควรให้นักเรียนเป็นผู้สรุป
                        8ต้องประเมินผลการสาธิตทุกครั้งว่าเด็กเข้าใจหรือไม่
ขั้นตอนการสอนแบบสาธิต
            วิธีการสอนแบบสาธิตมีขั้นตอนการสอนดั้งนี้
1ขั้นเตรียมการสาธิต เป็นขั้นตอนการทำการสาธิต ซึ่งครูควรเตรียมตัวดังนี้
1.ศึกษาบทเรียนที่จะสาธิตให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
1.2 เตรียมอุปกรณ์ที่จะสาธิตให้พร้อม
1.ทดลองการสาธิตดูก่อน
1.จัดชั้นเรียนให้เหมาะสมกับการสาธิตบทเรียน
1.5 เขียนแผนภูมิแสดงขั้นตอนของการสาธิตไว้
 2ขั้นสาธิต เมื่อครูเข้าสู่ชั้นเรียนแล้ว จึงดำเนินการสอนตามลำดับดังนี้
2.1 เร้าความสนใจของนักเรียน
2.2 ทำการสาธิตให้นักเรียนดู โดยยึดหลักในการสาธิตดังนี้
2.2.สาธิตตามลำดับขั้น
2.2.สาธิตช้าๆพร้อมกับบรรยายเพื่อให้นักเรียนตามทัน
2.2.สาธิตเฉพาะเรื่องบทเรียนนั้นๆ
2.2.ให้นักเรียนเห็นทั่วถึง หรืออาจให้นักเรียนออกมาสังเกตการสาธิตที่ละกลุ่ม
2.2.ครูคอยสังเกตความสนใจและความตั้งใจของนักเรียน
2.2.ครูให้นักเรียนมาร่วมทำการสาธิตด้วยได้
2.2.เน้นขั้นตอนสำคัญๆของการสาธิตและเขียนสรุปบนกระดานดำ
3. ขั้นสรุปและวัดผล
3.ให้นักเรียนร่วมกันเล่าสรุปเป็นตอนๆ
3.ให้นักเรียนทุกคนเขียนข้อสรุปส่งครูเพื่อให้คะแนน
3.3 ให้นักเรียนสาธิต เพื่อสังเกตดูว่านักเรียนทำได้และเข้าใจหรือยัง
3.4 ทดสอบ
 ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
            1. นักเรียนมองเห็นตัวอย่าง แบบอย่าง ขั้นตอน ของการปฏิบัติทำให้เข้าใจลึกซึ้งมีเหตุผล
            2. ประหยัดเวลาของครูและนักเรียน เพราะนักเรียนจะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน
            3. ประหยัดวัสดุ
            4การสาธิตให้ดูแล้วปฏิบัติย่อมปลอดภัย
                ข้อจำกัด
            1. การควบคุมชั้นเรียนอาจมีปัญหาเรื่องความสงบเรียบร้อยในชั้นเรียน
            2. หากการเตรียมตัวไม่ดีพออาจเกิดอุบัติเหตุหรือผิดพลาด
            3. หากการสาธิตไม่เป็นไปตามขั้นตอนอาจทำให้เสียเวลามาก
3.  รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E




รูปภาพที่  3  วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
            ความหมายการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้สรุปไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
                        1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่ศึกษา ในกรณีที่ไม่มีประเด็นใดที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอด้วยประเด็นขึ้นมาก่อน  แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจและนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น อาจรวมทั้งการรับรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
           2ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่นทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
           3ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ  การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
         4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
           5ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ  การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งจะก่อให้เกิดประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อไป
4การสอนตามแบบวัฎจักรการเรียนรู้ ขั้น (7E)

หลักการและความสำคัญของการสอนแบบ 7E

            การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ย่อมคำนึงถึงเหตุปัจจัยหลายประการที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งแวดล้อมกับกระบวนการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลผลิตและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น การที่จะช่วยให้มนุษย์อยู่ดี กินดีและมีคุณภาพชีวิตสูงขึ้น สามารถพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จำเป็นที่จะต้องเปิดรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ส่งเสริมแนวคิด คุณธรรม จริยธรรม ที่สองดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมบนพื้นฐานของแต่ละวัฒนธรรมธรรมชาติของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เน้นกระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ โดยที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่ง Eisenkraft (2003ได้เสนอรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก ขั้นตอน เป็น ขั้นตอน โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้มีความสนใจและสนุกกับการเรียน และยังสามารถปรับประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การสร้างประสบการณ์ของตนเอง

            การสอนตามแบบวัฎจักรการเรียนรู้ ขั้น เป็นการสอนที่เน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การตรวจสอบความรู้เดิมของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูละเลยไม่ได้ และการตรวจสอบ ความรู้พื้นฐานเดิมของเด็กจะทำให้ครูค้นพบว่านักเรียนต้องเรียนรู้อะไรก่อน ก่อนที่จะเรียนรู้ในเนื้อหา บทเรียนนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
            ขั้นตอนการสอนตามแบบวัฎจักรการเรียนรู้ ขั้น (7E)
                           1ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (elicitation phase) ครูจะต้องทำหน้าที่ในการตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้น ให้เด็กได้แสดง ความรู้เดิม คำถามอาจจะเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพสังคมท้องถิ่น หรือประเด็นข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ การนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน และเด็กสามารถเชื่อมโยง การเรียนรู้ไปยังประสบการณ์ที่ตนมี ทำให้ครูได้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเป็นอย่างไร ครูควรเติมเต็มส่วนใดให้กับนักเรียน และครูยังสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
                         2ขั้นเร้าความสนใจ (engagement phase)  เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนหรือเรื่องที่ น่าสนใจ ซึ่งอาจเกิดจากความสนใจของนักเรียน หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นหรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เด็กเพิ่ง เรียนรู้มาแล้ว ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามยั่วยุให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น และกำหนดประเด็นที่จะศึกษาให้กับนักเรียน ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นที่น่าสนใจครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ วารสาร  อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความคิดขัดแย้งจากสิ่งที่นักเรียนเคยรู้มาก่อนครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนคิดโดยเสนอประเด็นที่สำคัญขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้ นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่ให้นักเรียนศึกษา เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป
                         3ขั้นสำรวจค้นหา (exploration phase) เมื่อนักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถาม ที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทาง การสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบ อาจทำได้หลายวิธี เช่น สืบค้นข้อมูล สำรวจ ทดลอง กิจกรรมภาคสนาม เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างพอเพียง ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนตรวจสอบปัญหาและดำเนินการสำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
                          4ขั้นอธิบาย (explanation phase) เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนักเรียนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการ วิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆเช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลอง  รูปวาด ตาราง กราฟ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นแนวโน้มหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการทดลอง โดยอ้างอิงประจักษ์พยานอย่างชัดเจนเพื่อนำเสนอแนวคิดต่อไป ขั้นนี้จะทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐาน แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปแบบใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้
                           5ขั้นขยายความรู้ (elaboration phase)เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดเดิมที่ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือ เหตุการณ์อื่นๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้มากก็แสดงว่ามีข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยง เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น ครูควรจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น และขยายกรอบแนวคิดของตนเองและต่อเติมให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็นเพื่ออภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
                           6ขั้นประเมินผล (evaluation phase) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่า นักเรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ขั้นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มา ประมวลและปรับประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้ ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนนความรู้ใหม่ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน  
                         7ขั้นนำความรู้ไปใช้ (extention phase) ครูจะต้องมีการจัดเตรียมโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชีวิต ประจำวัน ครูเป็นผู้ทำหน้าที่กระตุ้นให้ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปสร้าง ความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้
จากรูปแบบการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ ขั้น
5.  วิธีการสอนโดยใช้การไปทัศนะศึกษา





รูปภาพที่  4  การสอนโดยใช้การไปทัศนะศึกษา

        วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนและเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่อันเป็นแหล่งความรู้ในเรื่องนั้น ( ซึ่งอยู่นอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ ) โดยมีการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธีการที่ได้วางแผน และมีการอภิปรายสรุปการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา
            วัตถุประสงค์
            วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่เรียน ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง ได้ใช้แหล่งชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ทำให้เกิดความเข้าใจ และเกิดเจตคติที่ดีต่อทั้งสถานที่นั้นและต่อการเรียนรู้
            องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
                        1มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในเรื่องวัตถุประสงค์ สถานที่ การเดินทาง เรื่องที่จะศึกษา วิธีศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทางและหน้าที่ความรับผิดชอบ
                        2มีการเดินทางออกไปยังสถานที่เป้าหมายซึ่งอยู่นอกโรงเรียน หรือนอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ
                        3มีกระบวนการในการศึกษาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ในสถานที่นั้น 3.มีสรุปผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการไปทัศนศึกษา
            ขั้นตอนสำคัญ ( ที่ขาดไม่ได้ ) ของการสอน
                        1ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนร่วมกันในเรื่องวัตถุประสงค์ สถานที่ที่จะไป การเดินทาง สิ่งที่จะไปศึกษา วิธีศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทาง และหน้าที่ความรับผิดชอบ
                        2ผู้สอนและผู้เรียนเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย
                        3ผู้เรียนศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธีการศึกษาที่ได้วางแผนไว้
                        4ผู้สอนและผู้เรียนเดินทางกลับ และสรุปผลการเรียนรู้ หรือผู้สอนและผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้ และเดินทางกลับ
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
            ในการใช้วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรประกอบไปด้วย
                        1การวางแผน ผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกันก่อนจะเดินทางไป                    ทัศนศึกษา สิ่งที่ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนให้ชัดเจนคือ วัตถุประสงค์ของการไปศึกษา ซึ่งหากวัตถุประสงค์ชัดเจนแล้ว ผู้เรียนอาจมีส่วนในการเลือกสถานที่ที่จะไปด้วย (ในกรณีที่ผู้สอนไม่เจาะจงสถานที่) เมื่อมีการกำหนดแน่ชัดแล้ว จะเป็นการดีมากหากผู้สอนและ/หรือผู้เรียนบางคนมีโอกาสไปสำรวจสถานที่นั้นก่อน จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ดีในการวางแผนขั้นต่อไป และช่วยลดปัญหาเมื่อมีการเดินทางจริงหลังจากไปสำรวจสถานที่และได้ข้อมูลกลับมาแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนจึงวางแผนในรายละเอียดต่อไปเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องตกลงกันให้ชัดเจนมีหลายประการ ได้แก่
                                    1การเดินทาง จะใช้พาหนะ ไปอย่างไร
                                    2เรื่องที่จะศึกษามีอะไรบ้าง
                                    3) วิธีการที่จะศึกษา จะใช้วิธีอะไร เช่น ใช้การสังเกต จดบันทึก อัดเทป ถ่ายภาพ ถ่ายวิดิทัศน์ สัมภาษณ์ เข้าร่วมกิจกรรม ลงมือปฏิบัติ ทดลอง ฯลฯ ซึ่งถ้าวิธีการที่จะใช้ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์อะไร ก็ต้องมีการจัดเตรียมให้เรียบร้อย เช่น จัดทำแบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ เตรียมเครื่องเล่นเทป กล้อง เป็นต้น
                                    4กำหนดการ ได้แก่ โปรแกรมการเดินทางที่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
                                    5ค่าใช้จ่าย จำนวนค่าใช้จ่ายในแต่ละเรื่องรวมแล้วเป็นเท่าใด ถ้าผู้เรียนจำเป็นต้องช่วยออกค่าใช้จ่าย จะเฉลี่ยกันออกมากน้อยเพียงใดและ
                                    6หน้าที่ความรับผิดชอบ ใครจะต้องช่วยส่วนไหนอย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจนเรื่องต่าง ๆ ที่ตกลงกันนี้ ควรจัดทำเป็นเอกสารแจกให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ตรงกัน ในเรื่องการวางแผนนี้ ถ้าผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ช่วยกันคิดในแต่ละเรื่องให้ได้ข้อตกลงร่วมกัน จะเป็นการดี เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง และเกิดความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันสำหรับผู้สอนไม่ควรลืมที่จะติดต่อยืนยันต่อเจ้าของสถานที่อย่างเป็นทางการและขออนุญาตผู้บังคับบัญชาและผู้ปกครองนักเรียน ( ในกรณีที่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักศึกษานอกสถานที่ )
                        2การเดินทางไปทัศนศึกษา ผู้สอนควรดูแล เอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัย สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน และให้คำปรึกษาแนะนำตามความเหมาะสม
                        3ศึกษาในสถานที่เป้าหมาย เมื่อไปถึงยังสถานที่เป้าหมายแล้ว ผู้สอนควรประชุมผู้เรียนทั้งหมดก่อนปล่อยผู้เรียนให้ไปศึกษาตามความสนใจของตน โดยย้ำถึง
                                    1วัตถุประสงค์ของการมาศึกษา
                                    2การเคารพต่อสถานที่ ไม่ทำสิ่งใดอันเป็นการทำลายหรือทำความเสียหายต่อสถานที่
                                    3ความปลอดภัย
                                    4การศึกษาด้วยวิธีการที่เตรียมมา
                                    5การนัดหมายและการตรงต่อเวลา เมื่อทำความเข้าใจแล้ว จึงปล่อยให้ผู้เรียนไปศึกษาด้วยตนเอง โดยผู้สอนสังเกตการณ์ทั่ว ๆ ไป
                        4การเดินทางกลับ และสรุปบทเรียน โดยทั่วไป หลังจากที่ชมและศึกษาสถานที่แล้ว ผู้สอนและผู้เรียนมักไม่มีเวลาที่จะสรุปการเรียนรู้ในทันที เพราะต้องรีบเดินทางกลับ แต่หากไม่รีบเดินทางกลับและสามารถจัดสรรเวลาได้ การสรุปประเมินผลการเรียนรู้ในทันที จะให้ผลดีมากเนื่องจากผู้เรียนยังจำความคิด ประสบการณ์ และความรู้สึกต่าง ๆ ได้ดี แต่ถ้ายังสรุปไม่ได้ทันทีจำเป็นต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง ความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์บางส่วนอาจเลือนไปบ้าง การสรุปผลการเรียนรู้ ทำได้หลายวิธี เช่น การให้ผู้เรียนแต่ละคนนำเสนอประสบการณ์และข้อมูลที่ตนได้จากการศึกษาและอภิปรายร่วมกัน สรุปเป็นประเด็นการเรียนรู้ที่ได้รับและอาจจะประเมินดูว่า การเรียนรู้ที่ได้รับเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด หรือผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเขียนเป็นรายงานจัดนิทรรศการ หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับแก่ผู้อื่น (เช่น ผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ หรือในการประชุมต่าง ๆ ) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผู้สอนจะใช้วิธีได ในการสรุปผลการเรียนรู้ ผู้สอนควรดูแลให้มีการสรุปให้คลอบคลุมประเด็นการเรียนรู้ทั้ง ด้าน คือ
                                    1การเรียนรู้ในด้านความรู้ (สิ่งที่ศึกษา)
                                    2การเรียนรู้ในด้านเจตคติ
                                    3การเรียนรูในด้านกระบวนการต่าง ๆ (เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฯลฯ)
            ข้อดีของวิธีการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษา
                        1เป็นวิธีสอนทีช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง มีการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนและความเป็นจริง
                        2เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและชุมชนให้เป็นประโยชน์ของการเรียนรู้ของผู้เรียน และช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
                        3เป็นวิธีการสอนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะการวางแผน ทักษะการประสานงาน ทักษะการทำงานกลุ่ม ทักษะการแสวงหาความรู้ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความเสียสละ เป็นต้น
                        4เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น และความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้น
                       
             ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษา
                         1เป็นวิธีสอนที่ยุ่งยากสำหรับผู้สอน เนื่องจากต้องมีการเตรียมการติดต่อประสานงาน จัดการ และรับผิดชอบงานหลายด้าน
                        2เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามาก และมีความเสี่ยง อาจเกิดอันตรายระหว่างการเดินทางได้ 3เป็นวิธีสอนที่อาจเกิดผลไม่คุ้มค่า หากการจัดการ และกระบวนการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร
6.  วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment)



รูปภาพที่  5  การสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment)
            ความหมาย     
            วิธีสอนโดยใช้การทดลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง
            ความมุ่งหมาย 
                        1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง ค้นคว้าด้วยตนเอง
                        2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และใช้ได้อย่างถูกต้อง เป็นแนวทางในการปฏิบัติทดลองค้นคว้าคิดค้นสิ่งใหม่ต่อไป
                        3. เพื่อฝึกการปฏิบัติงานทดลองค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบขั้นตอนรอบคอบ
                        4. เพื่อฝึกการสังเกต วิเคราะห์ สรุปผล และรายงานตามความเป็นจริงที่ค้นพบ
            องค์ประกอบ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
                        1มีปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง
                        2มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลอง  
                        3มีการทดลอง
                        4มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการทดลอง
             ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน
                        1ผู้สอน/ผู้เรียนกำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง
                        2ผู้สอนให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการทดลอง ให้ขั้นตอนและรายละเอียดในการทดลองแก่ผู้เรียน โดยใช้วีการต่างๆ ตามความเหมาะสม                                                                                   
                        3ผู้เรียนลงมือทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นตามขั้นตอนที่กำหนดและบันทึกข้อมูลการทดลอง       
                        4ผู้เรียนวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
                        5ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ 
            เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้การทดลองให้มีประสิทธิภาพ
            1.  การเตรียมการ
            ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดตัวปัญหาที่จะใช้ในการทดลองและกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินการทดลองให้ชัดเจน รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลองให้พร้อม และลองซ้อมทำการทดลองด้วยตนเอง เพื่อจะได้เรียนรู้ประเด็นปัญหา ข้อขัดข้องหรืออุปสรรคต่างๆ ซึ่งอาจนำมาใช้ในการปรับขั้นตอนการดำเนินการและรายละเอียดต่างๆให้รัดกุมขึ้น ผู้สอนอาจจำเป็นต้องทำเอกสารคู่มือการทดลองให้ผู้เรียน และควรประเด็นคำถามที่จะให้ผู้เรียนหาคำตอบหรือแนวทางที่จะให้ผู้เรียนสังเกตผลการทดลอง นกจากนั้นในบางกรณีที่การทดลองต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ที่จำเป็น ซึ่งหากผู้เรียนขาดความรู้ดังกล่าว จะไม่สามารถทำการทดลองได้ จึงควรมีการตรวจสอบความรู้ผู้เรียนก่อนให้ทำการทดลอง โดยผู้สอนจะต้องจัดเตรียมแบบทดสอบไว้ด้วย สำหรับการทดลองที่มีอันตราย เช่น การทดลองทางเคมี ผู้สอนจะต้องตรวจสอบความปลอดภัย รวมทั้งเตรียมการทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
            2.  การนำเสนอเรื่อง/ตัวปัญหาที่จะใช้ในการทดลอง
            ผู้สอนอาจเป็นผู้กำหนดขั้นตอนและรายละเอียดในการทดลองเอง หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการทดลองก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของสาระ แต่การให้ผู้เรียนร่วมกันดำเนินการนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกและผู้เรียนจะกระตือรือร้นมากขึ้น เพราะเป็นผู้คิดเอง อย่างไรก็ตาม ครูจำเป็นต้องคอยดูแลให้คำปรึกษาและความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
            3.  การทดลอง
            การทดลองทำได้หลายแบบ ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนลงมือตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมด โดยครูทำหน้าที่สังเกต และให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน หรือผู้สอนอาจลงมือทำการทดลองเอง ให้ผุ้เรียนสังเกต แล้วทำการทดลองตามไปทีละขั้น หรือผู้สอนอาจลงมือทำการทดลองให้ผู้เรียนดูจนจบกระบวนการ แล้วให้ผู้เรียนไปทำการทดลองด้วยตนเอง ผุ้สอนจะใช้เทคนิคใดนั้นขึ้นกับความเหมาะสมกับลักษณะของการทดลองครั้งนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยวิธีนี้ได้ดี หากมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็น ผุ้สอนจึงควรฝึกฝนทักษะดังกล่าวให้ผู้เรียน ก่อนให้ผู้เรียนทำการทดลอง หรือไม่ก็ต้องฝึกไปพร้อมๆกัน ทักษะ
            กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว มี 13 ทักษะ ดังนี้
                        1ทักษะการสังเกต    
                        2ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล              
                        3ทักษะการจำแนกประเภท
                        4ทักษะการวัด          
                        5ทักษะการใช้ตัวเลข
                        6ทักษะการสื่อความหมาย
                        7ทักษะการพยากรณ์
                        8ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปส (spaceกับเวลา
                        9ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร       
                        10ทักษะการตั้งสมมติฐาน
                        11ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร    
                        12ทักษะการทดลอง 
                        13ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
            ผู้สอนจะสอนด้วยวิธีนี้ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ 13 ประการดังกล่าว จึงจะสามารถช่วยฝึกฝนผู้เรียนตามปัญหาและความต้องการของผู้เรียนได้
            4.  การรวบรวมข้อมูล
            ผู้สอนควรให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนในการสังเกตการณ์ทดลอง บันทึกข้อมูลการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้ความเอาใจใส่ในกระบวนการทดลอง และกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้เรียนด้วย
            5.  การวิเคราะห์สรุปผลการทดลอง และสรุปผลการเรียนรู้
ผู้สอนให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกมาก นอกจากนั้น ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีการวิเคราะห์อภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการในการแสวงหาความรู้ กระบวนการทำงาน และกระบวนการอื่นๆ และสรุปการเรียนรู้ร่วมกันด้วย
             ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้การทดลอง
                        1เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ได้ผ่านกระบวนการต่างๆ ได้พิสูจน์ ทดสอบ และเห็นผลประจักษ์ด้วยตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีความเข้าใจ และจะจดจำการเรียนรู้นั้นได้นาน
                        2เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก เช่น  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม ทั้งได้พัฒนานิสัยใฝ่รู้          
                        3เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมาก จะทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
            ข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การทดลอง
                        1เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ สำหรับนักเรียนจำนวนมาก หรือในกรณีที่ต้องออกไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ ก็ต้องมีค่าพาหนะ ที่พัก และวัสดุต่างๆด้วย
                        2วิธีสอนที่ใช้เวลามาก เนื่องจากการดำเนินการแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลา
                        3เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงจะสามารถสอนและฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7.  วิธีการสอนแบบโครงงาน


รูปภาพที่  6  ภาพโครงงาน
             ความหมายของโครงงาน
            โครงงาน  (Project)  หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นักเรียนเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำ ปรึกษา และดูแลของครู/อาจารย์ที่ปรึกษา โดยอาจใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศึกษา เพื่อให้การศึกษา ค้นคว้า นั้นบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า คิดวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการวางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินผล นำเสนอผลงาน 
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้เด็กเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ วิธีการแก้ปัญหารู้จักการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการวางแผนในการทำงาน ฝึกการคิดวิเคราะห์ และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
            วัตถุประสงค์
            การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
                        1มีประสบการณ์โดยตรง
                        2ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
                        3รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
                        4ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
                        5ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
                        6ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
                        7ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง
             โครงงานแบ่งเป็น ประเภท คือ
            1โครงงานประเภทสำรวจ
                  ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาเหมือนโครงงานประเภททดลอง
                        ผู้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
            2. โครงงานประเภทการทดลอง
                        เป็นโครงงานที่ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อตัวแปรหนึ่ง โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
                        ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานนี้จะประกอบด้วย การกำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การแปลผล และสรุปผล
            3โครงงานประเภทการพัฒนาหรือประดิษฐ์คิดค้น
                                    เป็นโครงงานที่ประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ
            4โครงงานประเภทการสร้างหรืออธิบายทฤษฏี
                        เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการหรือคำอธิบาย อาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม อาจเป็นของใหม่หรือยังไม่มีใครคิดมาก่อน
            -ต้องมีความรู้พื้นบานเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
            มักเป็นโครงงานคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น โครงงานเรื่องการอธิบาย อวกาศแนวใหม่ โครงงานเรื่องทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ เป็นต้น
           
            รูปแบบการจัดทำโครงงาน
                        1ชื่อโครงงาน
                        2คณะทำงาน
                        3ที่ปรึกษา
                        4แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
                        5วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
                        6ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
                        7แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
                        8วัสดุ  อุปกรณ์
                        9งบประมาณ
                        10ระยะเวลาการดำเนินงาน
                        11ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
             การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
            การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่ง ความรู้เบื้อง สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับหลักการพัฒนาการคิดของ บลูม (Boomดังนี้
            1ความรู้ความจำ
            2ความเข้าใจ
            3การนำไปใช้
            4การวิเคราะห์
            5การสังเคราะห์
            6การประเมินค่า
            การ เรียนรู้แบบโครงงาน และยังเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ เรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้  การสร้างสรรค์
               
            7.กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น ระยะ คือ
                        ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงงาน เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจ ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เลือกเรื่องที่จะศึกษาร่วมกัน
                        ระยะที่ 2 การพัฒนาโครงงาน เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา แล้วตั้งสมมุติฐานเพื่อตอบคำถามเหล่านั้น
                        ระยะที่ 3 ขั้นสรุป เป็นระยะที่ผู้สอน และผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์ การทำงานและแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จมีกิจกรรมที่ผู้เรียนดำเนินการ ดังนี้
                                    1ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็กๆ
                                    2ผู้เรียน นำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน) ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ สรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
            ขั้นตอนของการทำโครงงาน  มีดังนี้
            1) คิดและเลือกปัญหาที่จะศึกษา : นักเรียนจะต้องเป็นผู้กำหนดปัญหา แนวคิดและวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหา
            2วางแผนในการทำงาน ประกอบด้วย
            1การกำหนดปัญหาและขอบเขตของการศึกษา
            2การกำหนดวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา สมมติฐาน และนิยามเชิงปฏิบัติการ
            3
การวางแผนรวบรวมข้อมูล  และการค้นคว้าเพิ่มเติม
            4กำหนดวิธีดำเนินงาน ได้แก่ แนวทางการศึกษา ค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ การออกแบบการทดลอง การควบคุมตัวแปร การสำรวจและรวบรวมข้อมูล การประดิษฐ์คิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดระยะเวลาในการทำงาน แต่ละขั้นตอน
            3) ลงมือทำโครงงาน : นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในข้อ 2  และถ้ามีปัญหาให้ขอคำแนะนำ ปรึกษา ครูหรืออาจารย์ที่ปรึกษา
            4การเขียนรายงาน :  นักเรียนจะต้องเสนอผลงานการศึกษา ค้นคว้า เป็นเอกสาร อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ  และทราบถึงปัญหา วิธีการและผลสรุปที่ได้จากการศึกษา พร้อมอภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป
             แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มี แนวทาง ดังนี้
1การจัดกิจกรรมตามความสนใจ
            เป็น การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาโครงงานจากสิ่งที่สนใจอยากรู้ที่มี อยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมในสังคม หรือจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ยังต้องการคำตอบ ข้อสรุป ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียนของหลักสูตร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
            1ตรวจสอบ วิเคราะห์ พิจารณา รวบรวมความสนใจแก่ผู้เรียน
            2. กำหนดประเด็นปัญหา/หัวข้อเรื่อง
            3. กำหนดวัตถุประสงค์
            4. ตั้งสมมติฐาน
            5. กำหนดวิธีการศึกษาและแหล่งความรู้
            6. กำหนดเค้าโครงของโครงงาน
            7ตรวจสอบสมมติฐาน
            8สรุปผลการศึกษาและการนำไปใช้
            9. เขียนรายงานเชิงวิจัยง่ายๆ
            10จัดแสดงผลงาน
2. การจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้
            เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เรียนเลือกทำ
โครงงานตามสาระการเรียนรู้ จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน นำมาเป็นหัวข้อโครงงาน มีขั้นตอนที่
ผู้สอนดำเนินการดังต่อไปนี้
            1. เริ่มจากศึกษาเอกสารหลักสูตร คู่มือครู
            2. วิเคราะห์หลักสูตร
            3. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อแยกเนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรมให้เด่นชัด
            4. จัดทำกำหนดการสอน
            5เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
            6. ผลิตสื่อ จัดหาแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
            7. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
            7.แจ้งจุดประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตรให้ผู้เรียนทราบ
                                    7.กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาและจุดประสงค์ในหลักสูตร
            7.จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ
                        7.4  ผู้สอนใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น
            ทำไมผู้เรียนจึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด/แรงดลใจ)
            ผู้เรียนสนใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา)
            ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องนี้เพื่ออะไร (กำหนดจุด ประสงค์)
            ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีศึกษา/กิจกรรม)
            ผู้เรียนจะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการศึกษาครั้งนี้ (กำหนดสื่ออุปกรณ์)
            ผู้เรียนจะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูล)
            ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไรบ้าง (สรุปความรู้/สมมติฐาน)
                                                ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานของผู้เรียนดีหรือไม่ดีอย่างไร จะให้ใครเป็นผู้ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล)
            ผู้เรียนจะเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน รายงาน)
                        7.ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาตามที่ตกลงกันไว้ (จากคำถามที่ผู้สอนซักถาม) ภายใต้กรอบเวลาในแต่ละครั้ง ถ้ายังไม่สำเร็จให้ศึกษาต่อในคาบต่อไป
                        7.ผู้เรียนทุกคนต้องสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยการเรียนของผู้เรียนและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้แก่เพื่อนๆ และผู้สอนได้
            7.ผู้เรียนเขียนรายงานเชิงวิจัยแบบง่ายๆ และแสดงแผงโครงงาน
            8. ผู้สอนจัดแหล่งความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
            9. ผู้สอนเขียนบันทึกผลการเรียนรู้
            วิธีการทำโครงงาน
                        1ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้
                        – การสังเกต หรือตามที่สงสัย
                        – ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
                        – จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
                        – คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
                        2เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน
                        3ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
                        4กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น
                        5นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
                        6สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
                        7ปรับปรุงชื่อโครงงานให้ครอบคลุม น่าสนใจ
             การประเมินผลการทำโครงงาน
            ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
                        1ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                        2ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
                        3สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
                        4วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
                        5แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
                        6วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
8. วิธีการสอนแบบอภิปราย



รูปภาพที่  7   การสอนแบบอภิปราย
ความหมายวิธีการสอนแบอภิปราย
            วิธีการสอนแบบอภิปราย หมายถึง วิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพิจารณาหัวข้อที่กลุ่มสนใจร่วมกัน วิธีการสอนแบบอภิปรายจึงเป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนคือ ได้คิด ได้ทำ ได้แก้ปัญหา ได้ฝึกการร่วมการทำงานแบบประชาธิปไตย ผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางของการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น
ความมุ่งหมาย
            1เพื่อเปิดให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน เป็นการพัฒนาทักษะการพูด การคิด
                        2
เพื่อฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การรับฟังความคิดของผู้อื่น และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
            3เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้มาอภิปรายให้คนอื่นทราบ
องค์ประกอบ
                        1.เรื่องหัวข้อประเด็นปัญหาที่จะอภิปราย
                        2.ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย
                        3.กระบวนการอภิปราย
                        4.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการอภิปราย
ประเภทของการอภิปราย
            การอภิปรายมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น
·       การอภิปรายเป็นคณะ
·       การอภิปรายแบบฟอร์ม
·       การอภิปรายแบบสัมมนา
·       การอภิปรายแบบระดมสมอง
·       การอภิปรายแบบโต๊ะกลม
·       การอภิปรายแบบโต้วาที
ขั้นตอนการอภิปรายมี  3  ขั้นตอน
1ขั้นเตรียมการอภิปราย ผู้สอนต้องเตรียมในสิ่งต่อไปนี้                    
            1.หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย เตรียมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน เวลาเรียน จำนวนผู้เรียน สถานที่ เช่น ถ้าเวลาจำกัด ควรใช้แบบซุบซิบปรึกษาถ้าต้องการรวบรวมความคิดอาจใช้แบบระดมสมอง ถ้ามีเวลาให้ผู้เรียนได้เตรียมเนื้อหาสาระความรู้มาล่วงหน้า ควรใช้แบบซิมโพเซียม
            1.2 ผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนเตรียมตัวการอภิปรายมาล่วงหน้าจะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการเรียนแบบอภิปรายอย่างแท้จริง
            1.3 ห้องเรียน ผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย เช่น จัดแบบวงกลมเหมาะสำหรับการอภิปรายแบบระดมสมองจัดแบบตัวยูหรือสี่เหลี่ยมผืน ผ้าเหมาะสำหรับกลุ่มใหญ่จัดแบบตัวทีหรือแบบเรียงแถวหน้ากระดานเหมาะสำหรับ แบบหมู่พาแนล
            1.4 สื่อการเรียน อาจต้องใช้เอกสารประกอบการอภิปรายของแต่ละกลุ่มผู้สอนควรเตรียมไว้ให้พร้อม
2ขั้นดำเนินการอภิปราย   ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและอภิปรายให้ดำเนินไปได้ด้วยดีต้องดำเนินการต่อไปนี้
            2.1 บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน
            2.2 ระบุจุดประสงค์การอภิปรายให้ชัดเจน
            2.3 บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปรายเช่นระยะเวลาที่ใช้ รูปแบบวิธีการ
            2.4 ให้ดำเนินการอภิปรายโดยผู้สอนควรช่วยเหลือให้การอภิปรายดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้สอนไม่ควรเข้าไปกำกับหรือเข้าไปแทรกแซงผู้เรียนตลอดควรคอยดูอยู่ห่างๆ
3ขั้นสรุป ประกอบด้วย
            3.1 สรุปผลการอภิปรายเป็น ช่วงที่ผู้แทนกลุ่มสรุปอภิปราย นำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม ผู้สอนอาจถามคำถามผู้อภิปรายได้ในสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับขณะ เดียวกันช่วยกลุ่มอภิปรายให้เกิดความกระจ่างในเนื้อหาบางตอนได้
            3.สรุปเรียน ผู้สอนเป็นผู้สรุปเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการอภิปรายควรได้เสริมข้อคิดแทรกความรู้ ตลอดจนนำแนวทางความรู้ไปใช้เกิดประโยชน์การสรุปนั้นควรสรุปเป็นหัวข้อกระดานดำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและบันทึกได้ง่าย
            3.3 ประเมินผลการเรียน ผู้สอนควรมีการประเมินผลการเรียนการอภิปรายภายหลังที่สิ้นสุดบทเรียนเพื่อดู ว่าการอภิปรายในคาบนั้นมีคุณค่าหรือมีข้อบกพร่องอย่างไรโดยประเมินให้ครอบ คลุมถึงเนื้อหาหัวข้อการอภิปราย จุดประสงค์ รูปแบบ บรรยากาศฯลฯทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนด้วย
ข้อดีของวิธีสอนแบบอภิปราย
                        1ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                        2พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
                        3ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
                        4ผู้เรียนสามารถนำวิธีการอภิปรายไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบอภิปราย
                        1หากผู้ดำเนินการอภิปรายไม่มีความสามารถในการอภิปราย จะทำให้การอภิปรายไม่สัมฤทธิ์ผล และสิ้นเปลืองเวลามาก
                        2หากการตั้งหัวข้อไม่ดีจะทำให้ไม่ได้ข้อสรุปของการอภิปราย
                        3ครูผู้สอนต้องควบคุมให้การอภิปรายดำเนินไปตามหลักการที่ถูกต้อง เช่น ประธานต้องไม่ใช้ความคิดของตนเองชี้นำจนผู้ร่วมอภิปรายไม่ใช้ความคิดของตนเอง
 9วิธีการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing)

                                       รูปภาพที่  8  การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing)
การสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่อง ปัญหาต่างๆหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง แล้วให้ผู้เรียนได้เตรียมการล่วงหน้า แล้วจึงแสดงบทบาทที่สมมติขึ้นมาอันเป็นแนวทางที่สามารถนำไปแก้ปัญหาต่างๆที่อาจประสบในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถแสดงบทบาทในชั้นเรียนได้ โดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า
การแสดงบทบาทสมมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบการณ์จริงในสภาพของการสมมติขึ้นมา เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ
การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playingคือ เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น นั่นคือแสดงบทบาทที่กำหนดให้ การแสดงบทบาทมี ลักษณะ คือ
                        1ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่น โดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเองหรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อนหรือเป็นบุคคลสมมติ
                        2ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตน แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต บทบาทประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ
            บทบาทสมมติที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบัน แยกได้เป็น 3 วิธี
                        1การแสดงบทแสดงละคร วิธีนี้ผู้ที่จะแสดงต้องฝึกซ้อมแสดงท่าทางตามบทที่กำหนดขึ้นไว้แล้ว เช่น การแสดงละครเรื่องที่เกี่ยวกับบทเรียนในหนังสือเรียนภาษาไทย ผู้แสดงบทบาทสมมติแบบละคร จะต้องพูดตามบทบาทที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น
                        2การแสดงบทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้ ผู้แสดงต้องไม่ฝึกซ้อมมาก่อนเรียนไปถึงเรื่องใดตอนใดก็ออกมาแสดงได้ทันที โดยแสดงไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เช่น แสดงเป็นบุคคลต่างๆ ในชุมนุมชน เป็นหมอ เป็นทหาร เป็นตำรวจ นักเรียนได้คิดได้พูดและแสดงพฤติกรรมจากความรู้สึกนึกคิดของเขาเอง
                        3. การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมบทไว้พร้อม ผู้สอนได้เตรียมบทมาไว้ล้วงหน้าบอกความคิด รวบยอดให้ผู้แสดงทราบ ผู้แสดงอาจต้องแสดงตามบทบาทบ้าง คิดบทบาทขึ้นแสดงเองตามความพอใจบ้าง แต่ต้องตรงกับเนื้อเรื่องที่กำหนดให้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
            การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  ขั้นเตรียมการใช้บทบาทสมมติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
                     1.ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจพื้นฐานเสียก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการแสดงและกรรมวิธีในการใช้บทบาทสมมตินำไปเพื่อต้องการให้เกิดอะไรขึ้น
                     1.ขั้นสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติ เมื่อผู้สอนได้ศึกษาและเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะในการเตรียมใช้บทบาทสมมติแล้ว ก็จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติให้สอดคล้องต้องกันกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องเล็งเห็นถึงวัยของผู้เรียน เนื้อหาสาระปัญหา ความเป็นจริง ข้อโต้แข้ง ตลอดจนอุปสรรคที่จำเป็นต่างๆ ที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด ปฏิบัติและแก้ไขด้วยตนเอง
                2.  ขั้นแสดงบทบาทสมมติ แบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
                     2.การนำเข้าสู่สถานการณ์ ผู้สอนเตรียมเรื่องหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนแล้วนำเรื่องราวมาเล่าให้ผู้เรียนฟัง เพื่อเป็นการเร้าความสนใจ เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนและอยากติดตาม และควรให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมตินั้นๆ      
                     2.การกำหนดตัวผู้แสดง การเลือกผู้แสดงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการสอนและการแสดงสำหรับการเลือกตัวผู้แสดงควรให้ผู้เรียนอาสาสมัครมาแสดงบทบาทด้วยความเต็มใจ
                     2.การจัดสถานที่ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมมือในการจัดสถานที่สำหรับการแสดงบทบาทสมมติ ซึ่งควรจัดและดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่กำหนดไว้
                     2.การกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์ โดยผู้สอนอาจจะกำหนดผู้เรียนกลุ่มหนึ่งให้เป็น    
ผู้สังเกตการณ์ในการแสดงบทบาท โดยฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ อภิปราย
 และแก้ปัญหาร่วมกัน หลังจากสิ้นสุดการแสดงบทบาทสมมติแล้ว
                     2.การเตรียมพร้อมก่อนการแสดง วิธีเตรียมความพร้อมนั้นผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือไม่ให้ผู้เรียนต้องมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแสดงให้มากเกินไป ควรชี้แจงให้ผู้แสดงทราบว่า การแสดงก็เหมือนกับการพูดคุย และเล่นกันธรรมดา เพียงแต่ต้องแสดงบทบาทต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น
                      2.การลงมือแสดง เมื่อผู้แสดงพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือแสดงได้เลย ควรเปิดโอกาสให้ผู้แสดงได้ใช้ความสามารถของตนได้เต็มที่ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในขณะที่แสดง ผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามธรรมชาติและราบรื่นต่อไป
                      2.การตัดบท ถ้าบังเอิญการแสดงของผู้เรียนยืดเยื้อและใช้เวลานานเกินความจำเป็นและผู้สอนที่ความคิดเห็นว่าได้ข้อมูลในการแสดงพอสมควรแล้ว ก็สามารถขอให้ยุติการแสดง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายและแก้ไขปัญหาต่างๆต่อไป
                3.  ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผล การนำข้อมูลที่ได้จากการแสดงมาวิเคราะห์และอภิปราย ผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกัน แต่ควรอภิปรายในรูปแบบของความมีเหตุมีผลเฉพาะการแสดงออกของผู้แสดงทางพฤติกรรมเท่านั้น จะไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวผู้แสดง
                4.  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป เมื่อได้วิเคราะห์และอภิปรายผลของการแสดงแล้ว ผู้สอนจะเป็นผู้เร้าและจูงใจให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้มีแนวคิดกว้างขวางขึ้น โดยให้ข้อคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือประสบพบเห็นนั้นๆ จะเกี่ยวข้องกับความเป็น จริงทั้งสิ้น แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันให้แนวมโนทัศน์และช่วยกันสรุปประเด็นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติที่กำหนดไว้                 
                 ข้อดีของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ
                        1. ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
                        2
. ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
                        3
. ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                        4
. ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
                        5
. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงของชีวิต
                        6
. ทำให้ผู้เรียนรู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
                        7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกได้มาก
               
               ข้อจำกัดของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ
                        1
. หากการเตรียมการไม่ดีก็จะเสียเวลามาก
                        2
. หากผู้แสดงอายหรือขัดเขินก็จะทำให้การแสดงนั้นไม่ชัดเจนแนบเนียน ทำให้เรื่อราวเปลี่ยนไป
                        3
. หากการแสดงบางอย่างไปกระทบจิตใจผู้เรียนมากเกินไป อาจทำให้สถานการณ์
ของการแสดงเปลี่ยนไป               
                        4. ผู้สอนที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาได้เองทั้งหมดก็อาจจะทำให้การแสดงนั้นมีอุปสรรคมาก
                        5
บางครั้งถ้าคาดหวังในสถานการณ์มากเกินไปก็ต้องเตรียมตัวมาก ซึ่งทำให้ไม่คุ้ม
กับการลงทุน     
10วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร

         



รูปภาพที่  9  การสอนโดยใช้การแสดงละคร
วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพของเรื่องราวที่ต้องการเรียนรู้ประจักษ์ชัดด้วยตาตนเอง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา จึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนและจดจำได้นาน
ความหมายของวิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร
วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา และสามารถทำให้ทั้งผู้แสดงและผู้ชมเกิดความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นาน


วัตถุประสงค์ของวิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร
วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพของเรื่องราวที่ต้องการเรียนรู้ ประจักษ์ชัดด้วยตาตนเอง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา จึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน และจดจำได้นาน
องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร
                        1. มีบทละคร คือเรื่องที่มีเนื้อหาและบทพูดหรือบทแสดงกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นจนจบ
                        2. มีการแสดงตามบทที่กำหนด และมีการชมและสังเกตการแสดง
                        3. มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อหาการแสดง การแสดงของผู้รับบทบาทต่าง ๆ
                        4. มีการสรุปการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้จากการแสดงและชมการแสดง
ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอนโดยใช้การแสดงละคร
                        1. ผู้สอน / ผู้เรียนเตรียมบทละคร
                        2. ผู้เรียนศึกษาบทละครและเลือก (หรือผู้สอนกำหนด) บทบาทที่จะแสดง
                        3. ผู้เรียนศึกษาบทที่จะแสดงและซ้อมการแสดง ผู้สอนให้คำแนะนำในการชมการแสดงแก่ผู้เรียนที่เป็นผู้ชม
                        4. ผู้สอนและผู้เรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแสดง เช่น เครื่องแต่งกาย ฉาก เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
                        5. ผู้เรียนแสดงหรือชมการแสดง
                        6. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงของผู้เล่น เรื่องราวหรือเนื้อหาการแสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการแสดง
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยการแสดงละครให้มีคุณภาพ
การแสดงละครเพื่อการเรียนรู้ มีหลายแบบดังนี้
            ก. การแสดงละครแบบเป็นทางการ หรือ การแสดงนาฎการ (dramatization) เป็นการแสดงละครที่มีการเตรียมบทละครตั้งแต่ต้นจนจบไว้ และผู้แสดงจะต้องมีการซักซ้อมการแสดงก่อนการแสดง จนผู้แสดงสามารถแสดงได้ตามบท และมีการจัดฉากจัดเวที ให้ดูสมจริง ตัวอย่างการแสดงนาฏการที่นิยมกันมาก ได้แก่ การแสดงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือชีวประวัติของบุคคลสำคัญ ๆ เป็นต้น
            ข. การแสดงละครแบบไม่เป็นทางการ  หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า เป็นการแสดง (acting) เป็นการแสดงเรื่องราวหรือเหตุการณ์สั้น ๆ เฉพาะจุดเฉพาะประเด็น เพื่อช่วยทำให้เรื่องราว / เหตุการณ์ / จุด / ประเด็น เหล่านั้น มีความกระจ่างชัดขึ้น การแสดงแบบนี้ ผู้สอนสามารถใช้สอนสอดแทรกในการสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้มาก เช่น การแสดงวิธีการจัดโต๊ะอาหาร การแสดงพิธีแต่งงาน พิธีทำขวัญ วิธีการผายปอด วิธีการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัย วิธีการป้องกันตัว ตลอดจนการแสดงบทบาทหน้าที่ของบุคคลในอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น
            ค. การแสดงละคนใบ้  เป็นการแสดงที่ผู้แสดงใช้การแสดงออกทางท่าทางสื่อความหมายเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจโดยไม่ใช้ภาษาพูดเลย แต่อาจมีการใช้การบรรยายประกอบท่าทางได้ เพื่อช่วยให้ผู้ชมมีความเข้าใจมากขึ้น เช่น การแสดงละครใบ้สื่อความหมายเกี่ยวกับปรัชญาในการดำรงชีวิต ความคับข้องใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น
            ง. การแสดงละครเลียนแบบ  เป็นการแสดงที่ผู้แสดงพยายามแสดงลักษณะท่าทาง เลียนแบบบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น การแสดงละครเลียนแบบดารา นักร้อง นักพูด ที่มีชื่อเสียง การแสดงท่าทางและเสียงร้องเลียนแบบสัตว์ต่าง ๆเช่น สุนัข แมว สิงโต นกต่าง ๆ หรืออาจแสดงเลียนแบบกลไกทำงานของสิ่งของต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ รถไฟ รถเมล์เครื่องบิน เป็นต้น
            จ. การแสดงละครล้อเลียน  เป็นการแสดงละครที่มีเนื้อหาสาระเสียดสีบุคคล สังคม เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อเน้นเจตคติ ค่านิยม หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน โดยการแสดงถึงความไม่ชอบด้วยเหตุและผลของสิ่งนั้น เช่น การแสดงละครล้อเลียนพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมือง การแสดงละครล้อเลียนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางสังคม
เป็นต้น
            ฉ. การแสดงการเชิดหุ่นละคร เป็นการแสดงที่ผู้แสดงใช้หุ่นหรือวัสดุอื่น ๆ เป็นตัวแทนตนในการแสดงออก ผู้แสดงจะไม่ปรากฏกายหรือแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ให้เห็น แต่จะเชิดหุ่นให้แสดงตามที่ตนปรารถนา ซึ่งก็คือ การเชิดหุ่นให้แสดงตามบทและเรื่องราวที่ได้เตรียมไว้ หุ่นที่ใช้ในการแสดงมีมากมายหลายประเภท เช่น หุ่นกระบอก หุ่นนิ้วมือ หุ่นสวมมือ หุ่นเสียบไม้ หุ่นหนังตะลุง หุ่นดิน เป็นต้น หุ่นดังกล่าวอาจเป็นหุ่นรูปคน หุ่นรูปสัตว์ หรือหุ่นรูปสิ่งของต่าง ๆ หุ่นเหล่านี้เป็นตัวแทนในการแสดงออกทางท่าทางของผู้แสดง แต่ผู้แสดง (ผู้เชิดหุ่น) ยังเป็นผู้แสดงออกทางบทพูดอยู่ หรือในบางกรณีที่ผู้เชิดหุ่นยังไม่ชำนาญ อาจมีผู้แสดงหลายคน เช่น คนหนึ่งเป็นผู้เชิดหุ่น อีกคนหนึ่งเป็นผู้พากย์ ผู้แสดงบทพูด อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
แล้วแต่ความสามารถของผู้แสดงการแสดงละครไม่ว่าจะเป็นแบบใด หากจะให้มีประสิทธิภาพ คือ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรมีการเตรียมการและดำเนินการอย่างเหมาะสม ดังนี้
การเตรียมบทละคร
ผู้สอนและผู้เรียนควรมีการอภิปรายกันถึงวัตถุประสงค์ของการที่จะใช้ละครเป็นวิธีการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผู้เรียนควรมีบทบาทในการเลือกเรื่องราวที่จะแสดง ผู้สอนอาจเตรียมบทละครให้ผู้เรียนแสดงโดยต้องเตรียมเนื้อหาการแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องเตรียมบทละคร คือบทพูดของตัวละครต่าง ๆ หรืออาจให้ผู้เรียนช่วยกันเขียน ซึ่งในทั้งสองกรณี ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราวจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้เนื้อหา / เรื่องราว ที่ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด และอาจจำเป็นต้องแสวงหาบุคคลผู้มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมาให้คำปรึกษา เช่น การแสดงละครทางประวัติศาสตร์ การแสดงละครทางวรรณคดี เป็นต้น การแสดงละครที่ใช้เป็นวิธีสอนนี้ จะแตกต่างจากการแสดงละครที่เป็นศิลปะการแสดง การใช้ละครในการเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องจัดทำทุกสิ่งทุกอย่างให้สมบูรณ์เหมือนความเป็นจริง แต่ต้องพิถีพิถันในจุดที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จุดนั้นจะต้องเด่นชัด การแสดงในจุดนั้นต้องให้เห็นสาระที่ต้องการชัดเจน องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่งเสริม ไม่จำเป็นต้องจัดทำให้สมบูรณ์ แต่ควรจะตรงตามความเป็นจริง ผิดกับละครที่เป็นศิลปะการแสดงจะต้องจัดทำทุกสิ่งให้สมบูรณ์ตามความเป็นจริง 
การศึกษาบทละคร และเลือกบทบาทที่จะแสดง
ผู้สอนและผู้เรียนควรช่วยกันเลือกว่าใครควรจะแสดงบทอะไร โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและความสามารถของผู้เรียนกับบทที่จะแสดง ควรจะเลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะตรงกับเรื่อง และมีความสามารถที่จะตีบทแตก คือเล่นได้ดีเล่นได้ตรงกับเนื้อหาของเรื่องมากที่สุด เนื่องจากการแสดงละคร เน้นที่การให้ผู้เรียนเห็นภาพหรือเรื่องราวที่ตรงกับเรื่องราวและความเป็นจริงมากที่สุด ดังนั้นผู้แสดงควรมีความเต็มใจที่จะแสดง เพื่อให้การแสดงออกมาดีที่สุด
การศึกษาบท ซ้อมการแสดง เตรียมผู้ชม และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแสดง
เมื่อได้ตัวแสดงแล้ว ผู้แสดงแต่ละคนต้องศึกษาเรื่องราวและบทของตนเป็นพิเศษ ต้องพยายามจำบทของตนให้คล่อง เพื่อการแสดงจะได้ไม่ติดขัด และจะต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงร่วมกันในบางกรณีหลังการฝึกซ้อมอาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวแสดง หากพบว่า ผู้ที่เลือกไว้ ไม่สามารถแสดงได้ดีพอที่จะสื่อความหมายได้ตรงกับเรื่องราวหรือเนื้อหาอันเป็นวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน โดยปกติ การสอนด้วยวิธีนี้ ผู้เรียนจะไม่ได้แสดงทั้งหมด ผู้ที่ไม่แสดงจะเป็นผู้ชมการแสดง และผู้ช่วยจัดการแสดง เช่น ทำหน้าที่กำกับการแสดง บอกบท ช่วยจัดฉาก แต่งตัวผู้แสดง ช่วยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการแสดง เป็นต้นดังนั้นผู้สอนจึงควรจัดแบ่งงานตามความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน และให้คำแนะนำในการชมการแสดงว่า ควรสังเกตและให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องอะไรบ้าง จุดไหนบ้าง
การแสดงละครและชมละคร
เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงเริ่มการแสดง ในขณะแสดง ผู้สอนและผู้ชมไม่ควรขัดการแสดงกลางคัน และควรให้กำลังใจผู้แสดง โดยการตั้งใจชมการแสดง ปรบมือให้กำลังใจ ผู้ชมควรตั้งใจสังเกตการแสดงในจุดสำคัญที่ครูให้คำแนะนำเป็นพิเศษ และอาจจดบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้เพื่อกันลืม ผู้แสดงก็ควรแสดงให้สมบทบาทมากที่สุด
การอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการแสดง มุ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดง ผู้สอนใช้การแสดงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวนั้น ๆ โดยได้เห็นเป็นภาพและการกระทำจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้อย่างดีและจดจำได้นาน ดังนั้นละครที่แสดงออกมา จึงควรสะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงนั้นให้เห็นชัด การอภิปรายเพื่อการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งไปที่เรื่องราวที่แสดงออกมา และการแสดงของผู้แสดงว่า สามารถแสดงได้สมจริงเพียงใด
           
            ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร
                        1) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่เรียนมีชีวิตขึ้นมา ทำให้การเรียนรู้มีความเป็นจริง และมีความหมายสำหรับผู้เรียน
                        2) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง
                        3) เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ การแสวงหาข้อมูลความรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นต้น
            ข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร
                        1) เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก ต้องมีการจัดเตรียมบทละคร และการแสดงที่ยุ่งยาก
                        2) เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ประกอบการแสดง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
                        3) เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการเขียนบท หากผู้สอนไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่สามารถแสวงหาข้อมูลที่ต้องการได้ จะทำให้เรื่องราวหรือการแสดงไม่สมบูรณ์
11การสอนแบบใช้สื่อและเทคโนโลยี





รูปภาพที่  10  แผนภาพองค์ประกอบของ  – Learning
ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ICT กันเสมอ ในเชิงการแข่งขันคนที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่เราเรียกว่า ยุคสมัยของการดำรงชีวิตภายใต้การแข่งขันด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge-based economy/society)การนำ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง กว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เราสามารถใช้ ICT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technologies หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวมตัวกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (CT) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลข่าวสารมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ หรือหมวดหมู่ เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามกรอบแนวความคิดทั้ง 6 ประการ ดังกล่าว จัดเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญในสาระขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกัน
การใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
              ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย 
(Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนมี 3  ลักษณะ ดังนี้
                        1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการประมวลผล เก็บบันทึก ค้นหาสารสนเทศได้อย่างไร เครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีการทำงานอย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ช่องทางสื่อสารมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง ฯลฯ วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ ที่นำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย
                        2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การใช้ WWW เป็นสื่อในลักษณะการสอนบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะ E-Learning และการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น
                        3. การเรียนรู้ไปใช้กับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปในลักษณะและรูปแบบใดบ้างทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เช่นซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ ๆ เครื่อง tablet pc ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพได้ กล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพและเว็บแค็ม (Webcam) เพื่อใช้ส่งภาพขณะสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ทันสมัยของเทคโนโลยีแล้วจำนำมาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดีทัศน์ถ่ายภาพการสอนส่งไปบนอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนในสถาบันการศึกษาอื่นเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การใช้เครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยี WI FI ทั้งในและนอกห้องเรียน
            ตามแผนแม่บทของการศึกษาแห่งชาติ และการกำหนดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้ไอซีทีในสถาบันการศึกษาทั้งหมดและมีให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนตามประสิทธิภาพที่พอเพียงอย่างทั่วถึงโดยมีวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีจุดมุ่งหมายคือ
                        1
. การรู้เทคโนโลยีและการรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ไอซีทีเพื่อการค้นคว้า รวบรวม และประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ และเพื่อเการสร้างองค์ความรู้ใหม่
                        2
. บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม
                        3
. กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้ไอซีทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและกระบวนการคิดอย่างวิเคราะห์
                        4
. ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน
                        5
. ต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีการใช้ไอซีทีให้มากขึ้น
                        6
. กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที การรู้ไอซีที และมีการพัฒนาการของทัศนคติที่ดีต่อไอซีทีตามความต้องการของแต่ละคน
                        7
. นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำและตารางการคำนวณได้ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถเขียนโปรแกรมได้
                        8
. นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1-100 คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้
           

ผู้สอน
ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง รวมถึงความเข้าใจในการพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
                        1
สมรรถนะด้านไอซีทีจะช่วยให้ผู้สอนมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสามารถเป็นผู้แนะนำแกผู้เรียนได้
                        2
. คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียน ผู้สอนคนอื่นๆและผู้บริหาร
                        3
. ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และสร้างสรรค์
                        4
. ผู้สอนควรติดตามพัฒนาการและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้
                        5
. ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที
รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
                        1. การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
                        2
. การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
                        3
. การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
                        4
. บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
                        5
. บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
                        6
. การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
                        7
. การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
เทคโนโลยีกับการพัฒนาการเรียนการสอน
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide  ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
                             เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) +โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
               1.  การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1       คน ได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2       วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
                        1.   เทคนิควิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
                             1.สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรม ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
 4. พัฒนาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นรูปแบบที่พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่อนสอนในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                        1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
                        2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
                        3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
                        4. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
                        5. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
                        6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                        1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
                        2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
                        3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
                        4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
                        5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
                        6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน
                                                                                                                              
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
            ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ยังมีผลกระทบต่อสังคมในทางลบที่เป็นลูกโซ่ตามมาด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้คือ
             ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไปเพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้ 
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยีร่วมกัน และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้ 
ผลกระทบด้านจิตวิทยา ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือสื่อสารทำให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น จึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป 
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้นมีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม อาทิ แม่น้ำ พื้นดิน อากาศ เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้น 
ผลกระทบทางด้านการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่าจะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดผลสำเร็จมากน้อยอย่างไร แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ เกิดการตื่นตัวอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่ เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือใช้เป็นหรือไม่ ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันตามความก้าวหน้า และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง การหมั่นศึกษา และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด
12การจัดการเรียนโดยใช้บทเรียนโมดูล (Induction Module )



รูปภาพที่  11 แผนภูมิแสดงลำดับขั้นตอนการสร้างบทเรียนโมดุล
ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูล
                การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างบทเรียนเป็นหน่วยที่มีเนื้อหาหรือกลุ่มประสบการณ์จบในตัวเองสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอนและชัดเจนโมดูลหนึ่งๆจะประกอบด้วย แนวคิด วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน สื่อและการประเมินผล ตามปกติมักนิยมจัดไว้ในลักษณะเป็นแฟ้มห่วงชนิดปกแข็งบรรจุเอกสารพิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดีหรือรวบรวมเป็นชุดเอกสารเป็นหนังสือ เป็นต้น
            บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียนจัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา
บทเรียนโมดูลเป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ตามความต้องการโดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอนมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูลและการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน
คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล
                        1โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วนๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
                        2ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
                        3มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
                        4เน้นการเรียนด้วยตนเอง
                        5ใช้วิธีการสอนแบบต่างๆ ไว้หลายอย่าง
                        6เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approachเข้ามาใช้ในการสร้าง
องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
                        1หลักการและเหตุผล (Prospectus)
                        2จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
                        3การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
                        4กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
                        5การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)
ขั้นตอนการสร้างและใช้บทเรียนโมดูล
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โมดูลมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
                        1ขั้นเตรียมการ
                        ผู้สอนศึกษาปัญหาความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เพื่อเลือกสร้างบทเรียนโมดูลขึ้นมา โดยสรุปได้ดังนี้
·   กำหนดเรื่องที่จะสร้างบทเรียน ควรตัดสินใจว่าควรสร้างบทเรียนเรื่องใด ควรเลือกเรื่องที่ตนมีความถนัด ความสนใจและความรอบรู้เรื่องนั้นๆ
·   กำหนดหลักการและเหตุผล เป็นการอธิบายถึงเบื้องหลังความเป็นมาของบทเรียน ความสำคัญของบทเรียน ขอบเขตของเนื้อหาการเรียนและความสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ
·   กำหนดจุดประสงค์ การกำหนดจุดประสงค์ของบทเรียนจะเป็นแนวในการเขียนเนื้อหาสาระการเรียนตลอดจนกิจกรรมและสื่อต่างๆ ของโมดูล การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจึงเป็นการกำหนดเป้าหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนที่สามารถวัดได้  และกำหนดเกณฑ์ที่ใช้สำหรับพิจารณาผู้เรียนว่าบรรลุผลการเรียนในระดับที่น่าพอใจหรือยัง
·   สำรวจสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ผู้สร้างโมดูลจะต้องศึกษาค้นคว้าตำรา เอกสาร โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดกิจกรรมและสื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสม
·   วิเคราะห์ภารกิจ  เป็นการวิเคราะห์ว่าบทเรียนนั้นๆ จะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานและความสามารถใดมาก่อนบ้าง ระหว่างเรียนจะต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างจุดประสงค์แต่ละข้อจะต้องใช้กิจกรรมใดบ้าง และกิจกรรมเหล่านั้นควรมีลักษณะใด
·   สร้างเครื่องมือประเมินผล เป็นการสร้างเครื่องมือประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียน โดยวัดทั้งส่วนที่เป็นความรู้และสมรรถภาพพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน รวมทั้งความรู้และสมรรถภาพพื้นฐานที่ครอบคลุมจุดประสงค์ของบทเรียน
·   ปรับปรุงบทเรียน นำบทเรียนที่สร้างเสร็จแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พิจารณาตรวจสอบ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
·   ทดลองใช้ นำบทเรียนที่ปรับปรุงแล้วมาทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพและความเที่ยงตรงของเครื่องมือตามลำดับดังนี้
                                                - ทดลองใช้กับกลุ่มย่อย เพื่อทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียน และทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
                                                ทดลองใช้ในห้องเรียน เพื่อทดลองหาความเที่ยงตรงในการทำหน้าที่เป็นบทเรียนและปรับปรุงแก้ไขเป็นครั้งสุดท้าย
·   พิมพ์ฉบับจริง  นำบทเรียนที่ปรับปรุงครั้งสุดท้ายแล้วไปพิมพ์เพื่อจัดใส่แฟ้มปกแข็ง  หรือจัดเป็นชุดเอกสารเพื่อนำไปใช้ต่อไป
            2ขั้นการเรียนรู้
            การนำโมดูลไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
·   ประเมินผลก่อนเรียน โดยอาจใช้เป็นแบบทดสอบชนิดต่างๆ เพื่อทดสอบความรู้ ความสามารถและสมรรถภาพพื้นฐานของผู้เรียน
·   แนะนำการใช้บทเรียน ผู้สอนแนะนำขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ในโมดูล
·    ทำกิจกรรมตามบทเรียน ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และทำกิจกรรมด้วยตนเองตามขั้นตอนต่างๆ ในใบงานหรือบัตรคำสั่งที่กำหนดไว้ในบทเรียน
            3ขั้นสรุป
1.     ประเมินผลหลังเรียนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจบในแต่ละโมดูลแล้ว
2.     สรุปสาระสำคัญ  ผู้สอนและผู้เรียนสรุปสาระของบทเรียนร่วมกัน
3.     ตรวจสอบและประเมินผลงาน ผู้สอนและผู้เรียนตรวจสอบและประเมินผลงานร่วมกัน
4.     เรียนซ่อมเสริม ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนการเรียนซ่อมเสริมในกรณีที่ผลการประเมินหลังเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ 

13วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry)




รูปภาพที่ 12  การเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry)
            ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry)
            ในการจัดการเรียนรู้โดยการใช้วิธีการสืบสวนสอบสวน เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รู้จักกระบวนการแสวงหาความรู้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความจริงต่างๆด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน มีสื่อกลางสำคัญ คือการใช้คำถามและการตอบคำถาม ดังนั้นอาจแบ่งการสืบสวนสอบสวนโดยพิจารณาลักษณะการถามระหว่างครูผู้จัดการเรียนรู้และผู้เรียน ได้ดังนี้
                        1. การสอนแบบสืบสวนสอบสวนที่ครูเป็นผู้ถาม (Passive Inquiryเป็นลักษณะของการสอนตามรูปแบบของ Hilda Taba ซึ่งเป็นลักษณะครูเป็นผู้ตั้งคำถาม และผู้เรียนเป็นผู้ตอบคำถาม นั่นคือผู้เรียนจะต้องเป็นแหล่งข้อมูลหรือควบคุมข้อมูล
                                2การสอนแบบสืบสวนสอบสวนที่ผู้เรียนเป็นผู้ถาม (Active Inquiry เป็นการสอนตามแบบของ Suchmanซึ่งลักษณะนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ตั้งคำถาม และครูจะเป็นผู้ตอบคำถาม นั่นคือครูจะเป็นแหล่งของข้อมูล หรือควบคุมข้อมูล
                        3. การสอนแบบสืบสวนสอบสวนที่ครูและผู้เรียนช่วยกันถาม (Combined Inquiry) วิธีการสอนแบบนี้เป็นการประยุกต์ใช้วิธีการของ Tabaและ Suchman เข้าด้วยกัน กล่าวคือ ครูถาม-ผู้เรียนตอบ ผู้เรียนถาม-ครูตอบ สลับกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ครูควรระลึกไว้เสมอคือ ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่าใจร้อนรีบบอกผู้เรียน
วิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
            Romey ได้เสนอแนวทางการสอนแบบสืบสวนสอบสวนไว้ ดังนี้
                        1
. ครูยกปัญหาขึ้นถาม
                        2
นักเรียนหาวิธีเพื่อแก้ปัญหา
                        3
. นักเรียนรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการแก้ปัญหา
                        4
นักเรียนตีความหมายข้อมูล
                        5
นักเรียนสร้างข้อสรุปเป็นหลักเกณฑ์ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้เป็นพื้นฐาน
                        6
. มีการจัดอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับความหมายความจำกัดของข้อมูล ความสัมพันธ์ต่อปัญหาอื่นๆ หรืออภิปรายสิ่งที่เกี่ยวข้องในการศึกษาครั้งนั้น
                        7
. ถ้านักเรียนมีความสนใจเพียงพอ อาจให้มีการอภิปรายเฉพาะประเด็น
                        8
. ในการอภิปรายควรใช้ตำราประกอบ ซึ่งเป็นการขยายความคิดของนักเรียน
สำหรับ ดร.วีระยุทธ วิเชียรโชติ ได้ศึกษาการสอนแบบสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย
ใช้ชื่อว่า การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Investigation or OEPC inquiry
และได้เสนอโครงการของการสอนหรือวิธีการสอนไว้ ขั้นดังนี้
            ขั้นที่ ขั้นการสังเกต ( Observation 
) 
เป็นขั้นที่ครูสร้างสถานการณ์ หรือทดลองให้นักเรียนได้สังเกต และวิเคราะห์องค์ประกอบและธรรมชาติของปัญหาอย่างละเอียด ซึ่งเด็กจะถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา เพื่ออภิปรายข้อสงสัยที่เกิดขึ้น คำตอบคำถามต้องเป็นแบบ “ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ” หรืออาจจะเป็นไปได้แล้วแต่กรณี เพื่อกระตุ้นให้ถามโดยใช้ความคิด ในขั้นนี้ครูจะไม่อธิบายอะไรนอกจากคำถาม
ขั้นที่ ขั้นการอภิปรายปัญหา ( Explanation ) 
เด็กจะอาศัยข้อมูลที่ได้เป็นเหตุผลมาอภิปรายหรืออธิบายปัญหาหรือสาเหตุปัญหา ส่วนมากใช้ความคิดแบบโยงความสัมพันธ์และแบบอ้างอิง อันจะนำไปสร้างสมมติฐานทั่วไปและทฤษฎี คำอธิบายในขั้นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นความจริงเสมอไป เพราะคำอธิบายนั้นก็คือ สมมติฐานกว้างๆ หรือทฤษฎีนั่นเอง ซึ่งยังเป็นการคาดคะเนอยู่ ความจริงอาจไม่เป็นไปตามคำอธิบายนี้ก็ได้ ขั้นที่กล่าวมานี้เป็นเพียงขั้นของการสืบสวนเท่านั้น   
ขั้นที่ ขั้นพยากรณ์หรือทำนายผล ( Prediction )
 เมื่อลองตั้งสมมติฐานเพื่อหาทางอธิบายว่าปัญหาเหล่านั้นมีมูลเหตุจากอะไรแล้วผู้เรียนพอจะจับเค้าโครงของปัญหาได้ชัดขั้น ดังนั้นก็สามารถตั้งสมมติฐานเชิงทำนายได้ หรือคาดคะเนผลของสาเหตุต่างๆได้ การเรียนที่สำคัญในขั้นนี้คือ การเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา โดยนำหลักการเรียนรู้ในขั้นที่ มาใช้ ซึ่งเป็นการสอบสวนนั่นเอง

            ขั้นที่ ขั้นควบคุมและสร้างสรรค์ ( Control or Greativity 
) หรือขั้นนำไปใช้
            เป็นขั้นที่นำผลของการแก้ปัญหา หรือสิ่งที่ค้นพบในขั้นอธิบายและขั้นทำนายผล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ เพื่อเกิดประโยชน์และนำไปใช้ได้

การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
            1ลักษณะเด่นเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหา เป็นการทำให้ผู้เรียนใช้ความคิดและเป็นวิธียั่วยุความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดตาม เพื่อค้นหาความจริงต่อไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ผู้จัดการเรียนรู้จะต้องมีการจัดลำดับเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆไว้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดี
            2วัตถุประสงค์เบื้องต้นหรือเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน
            2.เป็นการพัฒนาการตัดสินใจของผู้เรียนอย่างมีเหตุผล
            2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการสังเกตตั้งคำถามและแสวงหาข้อเท็จจริง
            2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในเหตุผล กล้าที่จะนำเอาความเข้าใจของตนมาใช้ปฏิบัติจริงได้
            3บทบาทของครูและผู้เรียน
            บทบาทของครูผู้จัดการเรียนรู้ คือ การตั้งคำถามหรือตั้งปัญหาและบอกแหล่งข้อมูลให้กับผู้เรียน เพื่อที่จะได้สืบค้นหาคำตอบในการแก้ไขปัญหา และครูยังมีบทบาทควบคุมเข้าสู่จุดหมายของการเรียนรู้
บทบาทของผู้เรียน คือ การสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เพื่อนำมาแสดงเหตุผลในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
            4. สิ่งที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในเทคนิควิธี การสอนแบบสืบสวนสอบสวนก็คือ วิธีการซักถาม ตอบคำถาม โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้หาข้อมูล เก็บข้อมูล ใช้ความคิด ตั้งคำถาม ตอบคำถาม อย่างอิสระที่สุด ถ้าครูจะมีบทบาทในการตั้งคำถาม ก็ควรเป็นคำถามที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่จุดหมายที่ต้องการ
            5จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น
            5.ทักษะทางปัญญา ผู้เรียนได้ใช้ความคิดและสติปัญญาในการหาข้อมูลแสดงเหตุผลอย่างอิสระ
            5.ทักษะทางสังคม ทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่น กล้าคิดกล้าแสดงออก หรือรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
            5.ทักษะทางการปฏิบัติ เป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีความรอบคอบ รู้จักการสังเกต ไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อน
14วิธีการสอนแบบใช้คำถาม (Questioning Method)



รูปภาพที่  13  การสอนแบบใช้คำถาม (Questioning Method)

แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียนโดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่างๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือการประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
            1ขั้นวางแผนการใช้คำถาม  ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
            2ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
            3ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
           
            4ขั้นสรุปและประเมินผล
                        4.การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
            4.การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
            ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม
                        1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
                        2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
            4ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
            5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
            6ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

15วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (STORY LINE METHOD)


แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟเบลล์ และแซลลี่ ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)
วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
ลักษณะเด่นของวิธีสอน 
            1. กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storylineและจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episodeด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questionsเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
            2เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approachให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
            1ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
            2ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
            3ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
            4เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
            3. เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Constructความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Headด้านอารมณ์ เจตคติ (Heartและด้านทักษะปฏิบัติ (Handsเป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowermentคือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)
            4เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learningมีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
            5. มีเหตุการณ์ (Incidentsเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
            6แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
            1กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
            2ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
            3วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
            4ปัญหาที่รอการแก้ไข

องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมีคำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line  คือ
                        1
ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
                        2
ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
                        3
การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
                        4
เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถุงเหตุการที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น   เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
                        1วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
                        2กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
                        3กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                        4จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
                        5กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธี Story line มีดังต่อไปนี้
                        1กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียน เรียกว่า เส้นทางเดินเรื่อง (Story line) ให้เหมาะสม หัวข้อเรื่องจะเป็นความคิดรวบยอดหรือหัวข้อย่อยที่ผู้เรียนจะต้องเรียน โดยผูกเป็นโครงเรื่อง ซึ่งมาจากองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิตของตัวละคร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โครงเรื่องจะเป็นโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะเรียน
                        2การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้มีคำถามหลักหรือคำถามสำคัญ (Key Questions) คำถามหลักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก จะทำหน้าที่ดำเนินเรื่องที่จะเชื่อมโยงแต่ละตอนให้ต่อเนื่องกัน คำถามหลักจะเชื่อมโยงเนื้อหาและกิจกรรมเข้าด้วยกัน
                        3กิจกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนจะทำกิจกรรมเพื่อตอบคำถาม โดยทำเป็นรายบุคคลหรือร่วมกันทำกิจกรรมอาจจับคู่กันทำกิจกรรม หรือจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-คน หรือร่วมกันทำทั้งห้อง โดยกำหนดสื่อหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรม
                        4การประเมินการเรียนรู้ จะประเมินจากคำถามหลักและกิจกรรมเป็นการประเมินในสภาพจริง (authentic assessment) ที่สะท้อนให้เห็นผลจากการเรียนรู้ว่าผู้เรียนได้ทำอะไรในด้านการใช้ภาษา ด้านการทำงานร่วมกับเพื่อน ด้านการแก้ปัญหา และด้านความรู้ เป็นการประเมินด้านคุณภาพและผลการเรียนของผู้เรียน
                        5กำหนดเวลาเรียนแต่ละตอน การสอน Story line ไม่จำเป็นต้องสอนโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นเวลาทั้งวัน แต่ผู้สอนอาจแบ่งเวลาการสอนแต่ละตอนโดยกำหนดเวลาสอนแต่ละตอนตามที่กำหนดหัวข้อเรื่อง และกิจกรรมการเรียนบางตอนใช้เวลา 1 ชั่วโมง บางตอนอาจใช้เวลา 2-ชั่วโมง ต่อเนื่องกันแล้วแต่กิจกรรมการเรียน

การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Story Line        
เป็นการประเมินจากการสังเกตหรือ ประเมินจากผลงาน หรือชิ้นงานของนักเรียน ผู้สอนต้องเก็บข้อมูลแล้วแปลออกมาเป็นคุณภาพ เช่น การประเมินจากการจัดนิทรรศการและผลงานที่รวบรวมในแฟ้มสะสมผลงาน อาจให้นักเรียนเลือกผลงานที่นักเรียนพอใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่เลือกผลงานชิ้นนั้นมาประเมิน ความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็ก โดยมีข้อคิดในการประเมิน ดังนี้
            1ประเมินเป็นระยะ
            2ครูควรมองการประเมินผลของเด็กในเชิงบวก
            3ให้เด็กมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานที่นักเรียน ชอบ ไม่ชอบ หรือชิ้นงานที่เขาภูมิใจ
            4ไม่ควรเปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อนๆ

 ข้อดีของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
การเรียนรู้เช่นนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกัน ครูวางโครงเรื่อง ผู้เรียนลงรายละเอียดที่มาจากประสบการณ์ชีวิต แล้วสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่เชื่อมต่อจากความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน ผู้เรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในผลงานที่สร้าง และกลายเป็นแรงผลักดันให้มีการแก้ปัญหา หากมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น นอกจากนี้ ครูยังสามารถบูรณาการทุกวิชาได้ในทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันนักเรียนก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริง รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย เมื่อผู้เรียนมีความสุข จุดหมายของการเรียนรู้ก็นับได้ว่าประสบความสำเร็จแล้ว นักเรียนจะเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
            ข้อจำกัดของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
- กิจกรรมนี้อาจเหมาะกับเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต
- ค่อนข้างใช้เวลาในการเรียนรู้

บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์
            บทบาทของครู
            1
เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
            1) กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storylineและกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episodeโดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
            2) เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ
            2
เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น
            1เป็นผู้นำเสนอ (Presenterเช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
            2) เป็นผู้สังเกต (Observerสังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
            3เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivatorกระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
            4เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcerเพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
            5เป็นผู้แนะนำ (Director)
            6เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizorให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
            7เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflectorให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
            8เป็นผู้ประเมิน (Evaluatorควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Processพฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performanceและประเมินผลงาน (Productซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน
            3เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process Orientedมากกว่าเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระ (Content Oriented)
            4เน้นการบูรณาการระหว่างวิชา (Integrationหรือผสมผสานระหว่างวิชาในหลักสูตร (Interdisciplinary)
            5เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ให้ผู้เรียนซักถาม ปรึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้
            6. เป็นผู้ริเริ่มประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน และต้องจัดกิจกรรมเพื่อจบลงด้วยความตื่นเต้น ความพอใจ ทั้งครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคนในชุมนุม เป็นต้น
            บทบาทของผู้เรียน
            1เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองในทุกเรื่องตามที่ครูกำหนด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
            2
. ดำเนินการเรียนด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และท้าทายอยู่ตลอดเวลา
            3
. มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งร่างกาย จิตใจและการคิด ในทุกสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนสถานการณ์ในชีวิตจริง
            4
. เรียนทั้งในห้องเรียน (Class)และในสถานการณ์จริง (Realityเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
            5
ตอบคำถามสำคัญ หรือคำถามหลัก (Key Questions)ที่ครูกำหนดจากประสบการณ์ของตนเองหรือประสบการณ์ในชีวิตจริง
            6
มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว ในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น สามารถจำ พิจารณา ทำตามคำแนะนำของครูได้อย่างดี
            7
. ทำงานด้วยความร่วมมือร่วมใจ อาจจะทำงานเดี่ยว เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้ด้วยความเต็มใจและด้วยเจตคติที่ดีต่อกัน
            8
. มีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน มีทักษะสังคม รวมทั้งมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนในกลุ่มอื่นๆ และกับครู
            9
. เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหา คิดริเริ่มสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
            10
เป็นผู้สามารถสร้างความรู้ (Constructด้วยตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์
            1เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนจำได้ถาวร (Retentionซึ่งการเรียนแบบนี้ต้องเริ่มต้นด้วยการทบทวนความรู้เดิม และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
            2. ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Participateทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เป็นการพัฒนาทั้งตัว
            3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตน และเป็นประสบการณ์จริงในชีวิตของผู้เรียน
            4. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีการเบื่อหน่าย
            5. ผู้เรียนจะได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด เป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ผสมผสานกันไป อันเป็นสภาพจริงของชีวิต
            6. ผู้เรียนจะได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิด แก้ปัญหา คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
            7. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ คน คน คน รวมทั้งเพื่อนทั้งห้องเรียนขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมเป็นการพัฒนาให้เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์
            8. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวสู่สิ่งไกลตัว เช่น เรียนตัวของเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน
            9
. ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นสุข สนุกสนาน เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และงานที่นำไปนำเสนอต่อเพื่อนต่อชุมนุม ทำให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง Story Line
16วิธีการสอนแบบ 4 MAT System




รูปภาพที่  14  การสอนแบบ 4 MAT System
ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
- การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้
                        1. การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตนเองเป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกต คิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง ผู้สอนกระตุ้นสร้างแรงจูงใจโดยสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ อภิปราย
                        2. การสร้างความคิดรวบยอดผู้สอนเตรียมข้อมูลให้ข้อมูลให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์ข้อมูล หลักการมาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง
                        3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติอย่างเฉพาะตัว ผู้สอนคือโค้ช อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน เป็นการตอบสนองพัฒนาการด้านสมองของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกัน 4 แบบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนทั้ง 4 แบบ มีความสุข พึงพอใจในการเรียนและมีโอกาสประสบผลสำเร็จในการเรียนตามวิธีหรือแบบการเรียนของตนเอง

การจัดกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอนของวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนของตนเอง
            เป็นช่วงที่ผู้เรียนใช้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกตคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง บทบาทของครูเป็นผู้กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ วิธีการ คือ การสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ การอภิปราย การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม การออกไปพบของจริง ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างประสบการณ์
เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเชื่อมโยงประสบการณ์ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าสิ่งที่จะเรียนนั้นมีความหมายโดยตรงกับตัวเขาเอง โดยการให้ผู้เรียนได้สัมผัส ได้เกิดความรู้สึก ได้ซักถามหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่กำหนดจะเรียน ผู้สอนอาจใช้กิจกรรม เกม การออกไปสัมผัสกับของจริง การตั้งคำถามให้คิด หรือให้จินตนาการ เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสร้างมโนภาพ ตลอดจนทักษะในการร่วมกิจกรรมกลุ่ม
ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจและอยากรู้ เด็กจะใช้สมองซีกซ้ายวิเคราะห์ต่อจากขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่เด็กต้องหาเหตุผลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับในขั้นแรก เด็กจะช่วยกันอภิปราย และอธิบายให้เหตุผลตามความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะในการวินิจฉัย วิเคราะห์อภิปรายในขั้นนี้ ผู้สอนอาจใช้เทคนิคการอภิปราย เทคนิคการเขียนผังความคิด (Mind Mapping) และวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ ผู้เรียนต่างก็มีความสุขสนุกมากที่ได้มีโอกาสคิดและผู้สอนก็จะพบว่าสิ่งที่ผู้เรียนระดมความคิดเป็นเรื่องดีและเด็กสามารถคิดได้เอง


ส่วนที่ 2 การสร้างความคิดรวบยอด
ในการเรียนรู้ในขั้นตอนการเชื่อมโยงประสบการณ์ ข้อมูล หลักการ มาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง เพื่อสร้างความคิดรวบยอด บทบาทของครู ผู้เตรียมข้อมูล ให้ข้อมูล สาธิต วิธีการ ให้ผู้เรียนค้นคว้า หาข้อสรุป ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
ขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และไตร่ตรองความรู้ที่ได้จากขั้นแรก เชื่อมโยงกับทฤษฎีให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจนสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปได้เป็นขั้นตอนที่ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กทำแล้วสร้างความคิดรวบยอดเป็นของตนเองได้ เป็นขั้นที่ต้องใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้คือ ทักษะการสร้างรูปแบบการจัดกระบวนการวิเคราะห์ การจัดลำดับความสัมพันธ์ การจัดประสบการณ์เปรียบเทียบ
ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล
เป็นขั้นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดเพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ จนสร้างความคิดรวบยอดเรื่องที่เรียนได้ เน้นการใช้สมองซีกซ้าย ผู้สอนควรหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลความรู้ด้วยการบรรยาย ควรใช้วิธีอื่นแทน เช่น การให้ผู้เรียนค้นคว้า ทดลอง สาธิตให้ผู้เรียนรู้จักวิทยากรท้องถิ่น
ทักษะสำคัญในช่วงนี้คือ ความสัมพันธ์ การจัดลำดับ การทดลอง การสรุปความ

 ส่วนที่ 3 การปฏิบัติการเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว
กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเคลื่อนไหวจากขั้นสร้างความคิดรวบยอดมาสู่การลงมือกระทำ หรือลงมือทดลองตามความคิดของผู้เรียน บทบาทของครู คือ โค้ช (Coach) หรือผู้ให้คำแนะนำ ผู้อำนวยการความสะดวก ผู้ให้ความช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง วิธีการ ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นที่ 5 ทำตามแนวคิดที่กำหนด
ผู้เรียนจะทำตามใบงานหรือคู่มือหรือแบบฝึกหัดหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด เน้นการใช้สมอง             ซีกซ้าย
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการถาม การสำรวจ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง การลองผิดลองถูก การทำนาย การบันทึก
ขั้นที่ 6 สร้างชิ้นงานตามความถนัด / ความสนใจ
เป็นขั้นบูรณาการการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง เพราะเป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความสนใจ ความถนัด ความเข้าใจเนื้อหาวิชา ความซาบซึ้งและจินตนาการของตนเองออกมาเป็นรูปธรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ตนเองเลือก เช่น เป็นสิ่งประดิษฐ์ สมุดรวมภาพ ภาพวาด นิทาน บทกวี หรือบทละคร หรือหนังสือ เน้นการใช้สมองซีกขวา กิจกรรมขั้นนี้เป็นผลมาจากการลงมือปฏิบัติจากขั้นที่ 5 ต้องมีลักษณะที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดไม่ใช่เกิดความจำแต่เพียงอย่างเดียวและในส่วนนี้คือที่สามารถปรากฏเป็นแฟ้มผลงานของผู้เรียน (Portfolio) ได้ ถ้าผู้สอนวางแผนการทำงานล่วงหน้าไว้อย่างดี เด็กสามารถสร้างผลงานได้โดย ผู้สอนไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการทำแฟ้มผลงานผู้เรียน
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการจัดระบบ การจัดลำดับก่อนหลัง การแก้ปัญหา การลงมือทำงาน การสรุป จดบันทึก
ส่วนที่ 4 การบูรณาการการประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ของตน
กระบวนการเรียนรู้ในส่วนที่ 4 เกิดจากกิจกรรมของการลงมือกระทำด้วยตนเองจนสำเร็จและไปสู่การรับรู้และ มีความรู้สึกที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น บทบาทของครู เป็นผู้ประเมิน/ผู้ซ่อมเสริมรวมทั้งเป็นผู้เรียนร่วมกัน วิธีการ การค้นหาตัวเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแนะนำผู้อื่น ในส่วนนี้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ขั้น
            ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ผล และประยุกต์ใช้
เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ชื่นชมกับผลงานของตนเองหรือผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปสู่กิจกรรมอื่น หรือผู้เรียนนำผลงานของตนเองเสนอในกลุ่มย่อยๆ ให้เพื่อนๆ ติชมและปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกซ้าย
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้อื่น
ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการค้นคว้าหรือลงมือกระทำกับคนอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเรื่องอื่น ๆ ที่อาจพบในสถานการณ์ใหม่ ได้แก่ จัดแสดงนิทรรศการ แสดงผลงานในวันสำคัญ ขั้นนี้เน้นการใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ซึ่งกันและกัน การมองอนาคตตลอดจนการชื่นชมตนเอง
ลักษณะเด่นของรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจำนวนมาก
ดังนั้น ลักษณะเด่นของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 4 MAT จะช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามกรอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่
            1. การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน
            1.การเสริมสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา)
            1.การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ (สมองซีกซ้าย)
           
2. การเสนอเนื้อหา สาระข้อมูลแก่ผู้เรียน (Presentation)
            2.การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
            2.การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
            3. การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
            3.ปฏิบัติตามขั้นตอน (สมองซีกซ้าย)
            3.การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน (สมองซีกขวา)
            4. การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ (Application)
            4.การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้พัฒนางาน (สมองซีกซ้าย)
            4.การนำเสนอผลงานการเผยแพร่ (สมองซีกขวา)
17การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด  ( Mind  Map )


             แผนที่ความคิด  ( Mind  Map )  เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด  การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งสองของสมองหรือเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้งสองซีก  คือสมองซีกซ้าย  และสมองซีกขวา
                        สมองซีกซ้าย  ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา  สัญลักษณ์  ระบบ  ลำดับความเป็นเหตุเป็นผล  ตรรกวิทยาฯ
                        สมองซีกขวา  ทำหน้าที่สังเคราะห์  คิดวิเคราะห์  จินตนาการความงาม  ศิลปะ  จังหวะ  โดยมีเส้นประสาทตัวหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งสองซีกซ้ายและขวา  ให้ทำงานประสานกัน
            วิธีการเขียนแผนที่ความคิด  แผนที่ความคิด  ( Mind  Map ) พัฒนามาจากการจดบันทึกแบบเดิมๆ  ที่บันทึกเป็นตัวอักษร  เป็นบรรทัดเป็นแถว  โดนดินสอหรือปากกา  มาเป็นการบันทึกเป็นคำ  ภาพ  สัญลักษณ์  แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบๆ  ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้  โดนใช้สีสันให้น่าสนใจ
            แผนที่ความคิด  ( Mind  Map )  ใช้ได้กับอะไรบ้าง
                         แผนที่ความคิด  ( Mind  Map )  นำไปใช้กับกิจกรรมในชีวิตส่วนตัว  และกิจกรรมในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา  และอาชีพ  เช่น  ใช้ในการวางแผน  การช่วยจำ  การตัดสินใจ  การแก้ปัญหา  การนำเสนอ  ฯลฯ
             การเรียนรู้โดยใช้ แผนที่ความคิด  ( Mind  Map )
                        การเรียนรู้วิชาต่างๆ  ใช้แผ่นที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้  เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตน  ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา  และวัยของตน  แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับใด  แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง  หลากหลาย  ช่วยความจำ  ช่วยให้งานต่างๆ  มีความสมบูรณ์   ความคิดต่างๆ  ไม่ขาดหายไป


รูปภาพที่  15  ตัวการทำแผนที่ความคิด
18วิธีการสอนแบบการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism)


            Constructionism เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง 
 M.I.T. (Massachusette Institute of Technologyทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionismหรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
       ประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่     +     ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม      =       องค์ความรู้ใหม่
            ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papertได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง กระบวนการด้วยกัน
             สิ่งแรก   คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ สังเกตว่าในขณะที่เรา สนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่าง ตั้งใจเราจะไม่ลดละความพยายาม เราจะคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้นจนได้
            สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
            จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็นหลักการต่างๆที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้ดังนี้
                        1. หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา และเมื่อพิจารณาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยปกติที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นสามารถจะแสดงได้ดังรูป
ความรู้
ครู ——-ผู้เรียน
                        2หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย(Many Choiceและเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
                        3. หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน(Social valueทำให้ผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลก ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
                        4. หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่นเมื่อผู้เรียน เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)”
            ลักษณะการพัฒนารูปแบบการสอน
                         1.  การสอนตามแนว Constructivism เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิม
                         2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้ มาร่วมกันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารวิชาการ หรือแหล่งความรู้ที่หาได้ เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา และเพิ่มเติมเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป
                        3.  การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริงว่า ลึก ๆ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไป จนถึงรู้แจ้ง
            บทบาทและคุณสมบัติที่ครูควรมีใน การสอนแบบ Constructionism
            ในการสอนตามทฤษฎี Constructionism ครูเองนับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการที่จะควบคุมกระบวนการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งครูที่ศึกษาทฤษฎีนี้ควรมีความเข้าใจในบทบาท คุณสมบัติที่ครูควรจะมี รวมทั้งทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
                        บทบาทของครู
                        ในการดำเนินกิจกรรมการสอน ครูควรรู้จักบทบาทของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง ครูนับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้การสอนสำเร็จผล ดังนั้นจึงควรรู้จักบทบาทของตน ดังนี้ คือ
                                      จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม โดยควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
                                      แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม(ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา)
                                    •  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionismโดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้จุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนโดยทั่วถึงกัน ตลอดจนรับฟังและสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ผู้เรียนที่จะเรียนรู้เพื่อประจักษ์แก่ใจด้วยตนเอง
                                        ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมและนำทางให้ผู้เรียนได้รู้วิธีวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
            คุณสมบัติที่ครูควรมีในการสอนแบบ Constructionism
             มีความเข้าใจทฤษฎี Constructionism และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionism
                            มีความรู้ในเนื้อหาที่สอนอย่างดี
                            มีความเข้าใจมนุษย์ มีจิตละเอียดพอที่จะสามารถตรวจสอบความคิดของผู้เรียนและดึงความคิดของผู้เรียนให้แสดงออกมามากที่สุด
                            มีการพัฒนาตนเอง ทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจอยู่เสมอ ครูควรรู้จักตนเองและพัฒนาความรู้ บุคลิกภาพ ของตนให้ดีขึ้น มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน ไม่ถือว่าความคิดตนถูกต้องเสมอ เข้าใจและยอมรับว่าบุคคลมีความแตกต่างกัน ไม่ด่วนตัดสินผู้เรียนอย่างผิวเผิน
                            ควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูจะทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเกิดความเป็นกันเองและมีความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
                            ครูควรมีทักษะในการสื่อความหมายกับผู้เรียน ในการสอนนั้นครูมักจะมีการสื่อความหมายกับผู้เรียนเสมอ จึงควรสื่อความหมายให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ รู้จักใช้วาทศิลป์ให้เหมาะกับกาลเทศะ และเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน(การสื่อความหมายให้กับผู้เรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันเพราะผู้เรียนมีการรับรู้และเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน)
                            มีทักษะในการใช้วิจารณญาณตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ทักษะด้านนี้ทำให้ครูดำเนินงานได้สะดวกราบรื่น เนื่องจากการสอนแบบ Constructionism นั้นผู้สอนจะต้องคอยสังเกตบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และจะต้องคอยแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วงให้เหมาะสม ดังนั้นผู้สอนจึงต้องมีทักษะในการใช้วิจารณญาณตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่ดี
                            มีทักษะในการช่วยเหลือผู้เรียน บ่อยครั้ง ครูต้องคอยช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เรียนครูจึงควรมีความเป็นมิตรเป็นกันเองกับนักเรียนเสมอ หากครูไม่มีทักษะทางด้านนี้แล้ว การช่วยเหลืออาจไม่บรรลุผล
                        
    จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นคุณสมบัติที่ครูควรมีเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงมนุษยสัมพันธ์ในการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญมากก็คือครูควรมีพื้นฐานของความรักในวิชาชีพครู พยายามเข้าใจผู้เรียนแต่ละคนให้มากๆโดยยึดหลักที่ว่าคนเรามีความแตกต่างกัน(ไม่นำคนหนึ่งมาเปรียบเทียบกับอีกคนหนึ่ง) ครูควรรู้จักเคารพความคิดของตนเองและผู้อื่น(โดยเฉพาะผู้เรียน) และควรรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของครูเองให้สมบูรณ์ และแจ่มใสอยู่เสมอ
            ทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
                            ในการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism ครูควรเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้เหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนแปลงไปและสิ่งที่ครูควรคำนึงถึงมีดังนี้
                            ครูต้องไม่ถือว่า ครูเป็นผู้รู้แต่ผู้เดียว ผู้เรียนต้องเชื่อตามที่ครูบอกโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ครูต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ที่จะช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่จะช่วยได้ ดังนั้นครูจึงไม่อับอายผู้เรียนที่จะพูดว่า ครูก็ยังไม่ทราบ พวกเรามาช่วยกันหาคำตอบดูซิฯลฯ
                            ครูต้องพยายามช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ต้องอดทนและปล่อยให้นักเรียนประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อย่าด่วนไปชิงบอกคำตอบเสียก่อน ควรช่วยเหลือแนะนำผู้เรียนที่เรียนช้าและเรียนเร็วให้สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเองด้วยตนเองให้มากที่สุด
                            ไม่ควรถือว่า ผู้เรียนที่ดีต้องเงียบ” แต่ครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุยกันในเนื้อหา หรือได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความรู้กันได้
                            ครูต้องไม่ถือว่าการที่ผู้เรียนเดินไปเดินมาเพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ นั้นเป็นการแสดงถึงความไม่มีระเบียบวินัย แต่ต้องคิดว่าการเดินไปเดินมาเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และช่วยทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
                            ครูต้องลดบทบาทตัวเองลง (ทำตัวให้เล็กที่สุด) พูดในสิ่งที่จำเป็น เลือกสรรคำพูดให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความต้องการฟังในสิ่งที่ครูพูด ก่อนที่จะพูดครูจึงควรเร้าความสนใจของผู้เรียนเสียก่อน
                            ขณะที่ผู้เรียนประกอบกิจกรรมครูต้องอยู่ดูแลเอาใจใส่พัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน ต้องไม่คิดว่า เมื่อผู้เรียนสามารถเรียนได้เองแล้วครูก็เอาเวลาทำอย่างอื่นได้
                            ครูควรมีใจกว้างและชมเชยนักเรียนที่ทำดีหรือประสบความสำเร็จแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ตำหนิหรือลงโทษเมื่อผู้เรียนทำผิดพลาด หรือทำไม่ถูกใจครู
                            ครูไม่ควรจะเอาตนเองไปยึดติดกับหลักสูตรมากจนเกินไป ไม่ควรจะยัดเยียดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นให้กับผู้เรียน ควรคิดว่าการให้เนื้อหาที่จำเป็นแม้จะน้อยอย่างก็ยังดีกว่าสอนหลายๆอย่าง แต่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้น้อยมาก(รู้แบบงูๆปลาๆ) หรือนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ไม่ได้
                            การจัดตารางสอนควรจัดให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเวลาที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรม ครูต้องพยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมภายในเวลาที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยไป
                        บทบาทของผู้เรียน
                        ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ
§ มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
§ เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
§ ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
§ มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
§ วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
§ ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับ
มอบหมาย
§ นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น
            กล่าวโดยสรุป หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง
            ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง ประการ คือ                        1ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล
                        2
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
                        3
มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
            สำหรับการนำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนปกตินั้น ครูสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายในวิชาที่มีการปฏิบัติหรือวิชาที่ต้องการฝึกทักษะ โดยแยกแยะได้ ลักษณะ คือ
§ ประยุกต์ใช้บางส่วน กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งคราว โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
§ ประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติเต็มเวลา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติทั้งหมดของวิชานั้น โดยครูให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีที่เรียน
§ ประยุกต์ใช้ทั้งวิชา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทั้งวิชา ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีหากปฏิบัติได้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้เรียนนั้นจะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรและจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล
            การจะทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionismนั้นไม่ยากนัก เพราะเมื่อมีการเริ่มต้นแล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติและมีพลังเพียงพอที่จะขับตัวเองให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย(แต่ในระยะแรกนั้นจะต้องอาศัยเวลาในการเริ่มต้นพอสมควร) ครูเองจะได้สัมผัสกับบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ผู้เรียนมีความสุขและมุ่งมั่นที่จะทำงานด้วยตนเองจนสำเร็จและที่น่าประหลาดใจก็คือผลงานที่ออกมาจะมีความหลากหลาย ท่านจะเห็นความคิดดีๆหรือสิ่งใหม่ๆที่เจริญงอกงามขึ้น ดังนั้นการให้โอกาสในการเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ครูผู้สอนเพียงแค่เปิดความคิดและเปิดใจเพื่อให้โอกาสกับผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเขาเอง คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามกระบวนการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเท่านั้น
19.  วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม




รูปภาพที่ 16   การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

            ความหมาย
            การแบ่งกลุ่มทำงานหรือทำกิจกรรม คือ วิธีสอนที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันค้นคว้าหรือทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ เป็นการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในบทเรียนยิ่งขึ้น เพราะการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี (รพีพรรณ สาครสินธุ์,2542 หน้า 92)
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตาม ความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
           
            วัตถุประสงค์ของการสอนโดยใช้กระบวนการกุล่ม
                              1ให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักแบ่งงานกันทำและช่วยเหลือกัน
                              2. ให้เกิดการปะทะสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่ม
                              3.  สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
                              4. ให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
                              5. ผสมผสานวิธีสอนหลายๆแบบเข้าด้วยกัน
                              6. ครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
                              7. เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักและทำความเข้าใจซื่งกันและกัน
                              8ให้นักเรียนมีโอกาสอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
                              9. สามารถใช้ประสบการณ์จากกลุ่มช่วยพัฒนาการเรียนการรู้เป็นราบบุคคล
            ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                        1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานนั่นคือส่งเสริมการทำ งานเป็นทีม
                        2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบวินัย รู้จักทำหน้าที่
                        3. เพื่อฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และมีประสบการณ์ตรงในการทำงาน
                        4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ
            องค์ประกอบของกลุ่ม
                        1. ผู้นำ  คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำกลุ่มให้สามารถทำงานจนบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ หากกลุ่มใดมีผู้นำที่ดี กลุ่มนั้นก็ย่อมจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ
                        2. สมาชิกกลุ่ม  สมาชิกกลุ่มที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน โดยรู้ว่าตนควรจะทำอะไรที่จะช่วยเอื้ออำนวยให้การทำงานเป็นทีมบรรลุผลสำเร็จ
                        3. กระบวนการทำงาน  คือ วิธีกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน ผลงานของกลุ่มจะออกมาดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีการและขั้นตอนที่กลุ่มที่ใช้ในการทำงานด้วย หากกลุ่มใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และลักษณะกลุ่มแล้ว ผลงานก็มักมีคุณภาพตามไปด้วย
            ขั้นตอนการสอน
                        1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดเตรียมวางแผนการสอน โดยเตรียมหัวข้องานที่จะมอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม กำหนดจุดมุ่งหมาย  เวลา วิธีการ ตลอดจนเตรียมสื่อการสอนและเอกสารที่ต้องใช้ในการสอน
                        2. ขั้นดำเนินการสอน ประกอบด้วย
                                    2.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นจูงความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน ให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ อาจใช้วีทบทวนความรู้เดิม สนทนา ซักถาม อภิปรายนำเรื่อง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การสอน แจ้งขั้นตอนการทำกิจกรรม กำหนดเวลา และข้อตกลงอื่นๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันก่อนเข้ากลุ่มทำกิจกรรม
                                    2.ขั้นสอน มีลำดับดังนี้
                                                - แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม ให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มที่น่าสนใจ
                                                - ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ
                                                - แจกเอกสาร บัตรคำถาม หรือสื่อการเรียนที่กลุ่มจำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม
                                                - ให้กลุ่มทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
                                                - ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลงานของกลุ่มตามที่ผู้สอนกำหนด
                                    2.ขั้นสรุป
                                                - ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความสำคัญจากการรายงานของแต่ละกลุ่มและผู้สอนให้ข้อเสนอแนะพร้อมแนวคิดในการประยุกต์ใช้
                        3. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ผู้สอนประเมินผลการทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียน เกิดเจตคติและทักษะในการทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด บรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่ ผู้สอนควรได้ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ด้วย เช่น ความกระตือรือร้นในการแบ่งกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความกล้าแสดงออก ลักษณะการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ฯลฯ เป็นต้น
            สรุปสาระสำคัญของหลักการใช้กระบวนการกลุ่มในชั้นเรียน
                        1. สอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
                        2. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้
                        3. เน้นให้นักเรียนค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
                        4. เน้นการใช้กระบวนการกลุ่ม
                        5ให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ควบคู่ เชื่อมโยง ผสมผสานร่วมกับกระบวนการกลุ่ม
            ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                        1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
                        2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง
            ข้อสังเกตของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                        1. ถ้าครูเพิ่งเริ่มใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นครั้งแรก ครูควรดูแลนักเรียนใกล้ชิด เช่น ต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และนอกกลุ่ม รวมทั้งประสานงานกับครู
                        2. หน้าที่การเป็นหัวหน้ากลุ่ม ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
20.วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)

            หลักการ
          วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิชาด้วยตนเอง ได้แก่การศึกษาจากหนังสือและการศึกษานอกสถานที่ การสอนวิธีนี้บางครั้งเรียกว่าวิธี Problem Solving หรือ Discovery Method
            ตัวชี้วัด
          เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การดูแลและการแนะนำของครู เพื่อให้
นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยและหาข้อสรุป
            ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                          1จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                          2ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                          3หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา
            ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                          1เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                          2ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                          3เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                          4เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
            ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                          1วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                          2การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล
21วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา


รูปภาพที่ 17  การสอนแบบแก้ปัญหา 
            วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา ( Problem Soluing Method )
            จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดวิธีสอนแก้ปัญหานี้ขึ้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝีกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำ วันได้อย่างเป็นกระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์ อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่มสาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบกันในการแก้ปัญหานั้นๆ
            ความมุ่งหมาย
            ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตีความและสรุปและทักษะในการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผลซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียน
            ขั้นตอนการสอน
                        ขั้นที่ กำหนดปัญหา
                        เป็นขั้นที่ครู นักเรียน หรือครูกับนักเรียนกำหนดปัญหา ขันโดยวิธีการต่างๆ เช่น ถามนำเข้สู่บทเรียน เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ แล้ตั้งปัญหา ใช้สถานการณ์ในชุมชนมาตั้งปัญหา จัดสถานการณในห้องเรียนกระตุ้นให้เกิดปัญหาเป็นต้น
                        ขั้นที่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหา
                        เมื่อ ได้ปัญหาจากขั้นที่ มาแล้ว ครูจะนำนักเรียนให้คิดพิจารณาปัญหา จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ การสอนขั้นนี้จะจบลงด้วยการเสนอแนะแหล่งความรู้ที่แต่ละกลุ่มควรไปค้นคว้าหา คำตอบเพื่อแก้ปัญหา
                       
                        ขั้นที่ ตั้งสมมุติฐาน
                        เป็นขั้นที่นักเรียนคาด เดาว่าปัญหานั้นๆมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธีใด หรือปัญหานั้นควรมีคำตอบว่าอย่างไร เป็นต้น
                        ขั้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูล
                        นัก เรียนแต่ละกลุ่มจะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาด้วยการทำกิจกรรม ต่างตามที่ว่างแผนไว้ในขั้นที่ เช่น อ่านหนังสือ สัมภาษณ์ผู้รู้ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ทำแผนภูมิ ทำแผนผัง ทำสมุดภาพ ชมภาพยนต์หรือวิดีทัศน์ ทดลองปฏิบัติ เป็นต้น ขณะทำกิจกรรมครูจะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
                        ขั้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล
                        เป็น ขั้นตอนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำข้อมูลที่ไปค้นคว้าหรือทดลองมาวิเคราะห์และส้ง เคราห์ หาคำตอบที่ต้องการ หรือพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่ คำตอบที่ถูกคืออะไร
                        ขั้นที่ สรุปผล
                        เป็นขั้นที่นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาหาปัญหานี้
                        วิธี สอนแบบแก้ปัญหา นอกจากจะช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์และรู้จักคิด อย่างมีเหตุผลแล้ว ยังช่วยปลูกฝังนักเรียนมีนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตน และมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยอีกด้วย
                        ขั้นประเมินผล
            ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วจึงให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข
            ข้อดีของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
                        1.ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
                        2.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
                        3.เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกการรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
            ข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
                        1.ผู้เรียนต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดจริงไป
                        2.ผู้เรียนต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปได้ดี
                        3.ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์อาจนำไปผิดทางได้
                        4.การกำหนดปัญหาถ้าเลือกปัญหาไม่ได้จะทำให้การเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร

22.วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

       
   วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง ของวิทยาศาสตร์
            ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
                        1ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา    เป็นขั้นในการกระตุ้น หรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา อยากรู้อยากเห็นและอยากทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน หน้าที่ของครูคือการแนะแนนำให้นักเรียนเห็นปัญหา จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ เป็นเครื่องช่วย
                        2ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา    ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้
                                    2.ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา
                                    2.แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ
                                    2.แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา
                        3ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล   เป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่ ดังนี้
                                    3.แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหา รู้จักวิธีแก้ปัญหา และรู้จักแหล่ง ความรู้สำหรับแก้ปัญหา
                                    3.แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ
                        4ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล   เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง ผลงานของตน
                        5ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามีผลดีผล เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน

            ข้อดีของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
                        1นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
                        2ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
                        3ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ
                        4ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ
            ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
                        1ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนด

                        2ครูต้องยึดมั่นในบทบาทของตนในการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน

1 ความคิดเห็น: